ผู้เขียน หัวข้อ: ความมืดมีประโยชน์ ช่วยต้านมะเร็ง แถมลดน้ำหนัก  (อ่าน 1443 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3726


นักวิชาการต่างประเทศชี้ว่า ความมืดเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับโรคมะเร็ง และช่วยลดน้ำหนักตัวได้ด้วย

                  แสงสว่างในตอนกลางคืนจะรบกวนการผลิต "ฮอร์โมนความมืด" นั่นคือ เมลาโทนิน ซึ่งเป็นสารตามธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ช่วยต้านมะเร็ง ผลิตจากต่อมไพเนียล หรือต่อมใต้สมอง นอกจากนั้นแล้ว ความมืดยังส่งผลดีดังนี้

                 ช่วยให้อารมณ์ดี

                 การไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในความมืดสามารถส่งผลต่ออารมณ์ของคนเราได้ นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอพบว่า การดูทีวีจนดึกดื่นจะทำให้ซึมเศร้า อันเป็นผลจากแสงที่ปล่อยมาจากหน้าจอ ดังเช่น เมื่อหนูทดลองถูกเลี้ยงไว้ในห้องที่เปิดไฟตลอด 24 ชั่วโมง พวกมันมีอาการซึมเศร้ากว่าพวกหนูที่อยู่ในแสงสว่างสลับความมืดเป็นวงจร

                 ช่วยให้นอนหลับ

                 ผลวิจัยบอกว่า แสงสว่าง ทั้งแสงตามธรรมชาติและแสงจากไฟฟ้า เป็นปัจจัยที่ทำให้นอนหลับได้ไม่ดี งานของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียแสดงให้เห็นว่า คนงานระบบกะที่ได้นอนหลับในห้องที่มีการดับไฟหรือม่านบังแสง จะนอนหลับได้ดีกว่าคนที่นอนในห้องที่สว่าง

                 ช่วยลดน้ำหนักตัว

                 เมื่อถึงยามกลางคืน การดับไฟอยู่ในที่มืดจะช่วยลดการกินจุบกินจิบในตอนดึก คนที่ใช้ชีวิตในแสงสว่างมาก ๆ มักไม่สามารถลดน้ำหนักตัวได้ ความมืดเป็นสิ่งส่งสัญญาณว่าเราต้องการนอนหลับ แสงสว่างเป็นสิ่งส่งสัญญาณว่าเราต้องตื่นและกิน ถ้าละเลยจังหวะตามธรรมชาติของกลางวันสลับกลางคืน เราก็จะกินมากขึ้นในเวลาที่ไม่ควรกิน

                 ตั้งนาฬิกาชีวภาพใหม่

                 ความมืดเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความเที่ยงตรงของนาฬิกาในตัวเรา แต่ขณะที่บรรพบุรุษของเราเข้านอนเมื่อมืดลง และนอนเร็วขึ้นในฤดูหนาวนั้น พวกเรากลับตื่นอยู่จนดึกดื่นค่อนคืน บางคนยังคงช็อปปิ้ง ทำงาน ใช้คอมพิวเตอร์ ดูทีวี หรือนอนหลับก็ยังเปิดไฟ การรบกวนวงจรเวลาของร่างกายเช่นนี้ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ตั้งแต่ความเครียด โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด อาหารไม่ย่อย แผลเปื่อยพุพอง

                 ข้อแนะนำก็คือ ปิดทีวีให้เร็วขึ้น ให้เวลาตัวเองปรับตัวเข้ากับความมืด ปล่อยให้ร่างกายเปิดสวิตช์ผลิตเมลาโทนิน



ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์
ที่มา  :  http://variety.teenee.com/foodforbrain/47500.html