ผู้เขียน หัวข้อ: เลือกกินอย่างไร ให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า  (อ่าน 2064 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3726

ในปัจจุบันมีการกล่าวถึงอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ว่าเป็นหนึ่งในตัวการที่ก่อปฏิกิริยาอักเสบในร่างกาย  และเกี่ยวข้องกับความแก่ชรา รวมไปถึงภาวะเสื่อมของโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น จอประสาทตาเสื่อม ไขมันสูง เบาหวาน มะเร็ง ฯลฯ โดยครั้งนี้ ภก.ดร. พงศกรพัฒน์ อรุโณทยานันท์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาความรู้ผลิตภัณฑ์ระดับภูมิภาค ยูนิลีเวอร์ เน็ทเวิร์ค อะคาเดมี จะมาเผยวิธีการเลือกกินให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อปลดชนวนความเสี่ยงปัญหาสุขภาพเหล่านี้
 
ภก.ดร. พงศกรพัฒน์ อรุโณทยานันท์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาความรู้ผลิตภัณฑ์ระดับภูมิภาค ยูนิลีเวอร์ เน็ทเวิร์ค อะคาเดมี เผยว่า ?ร่างกายของเรานั้นสามารถสร้างอนุมูลอิสระได้ โดยอนุมูลอิสระที่ร่างกายสร้างเองในภาวะปกติ จะมีประโยชน์ในหลายกระบวนการของร่างกาย เช่น การป้องกันเชื้อโรคแปลกปลอม ซึ่งคนที่ร่างกายแข็งแรงสามารถสร้าง ?สารต้านอนุมูลอิสระ? หรือ ที่เรียกว่า ?แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant)? ขึ้นมาขจัดอนุมูลอิสระส่วนเกินได้ แต่เมื่อร่างกายมีปัจจัยเสี่ยง เช่น ความเจ็บป่วย ความเครียดสะสม ทำงานหนัก สัมผัสสารพิษปนเปื้อนในอาหาร อาหารปิ้งย่างเกรียม ทอด ไขมันสูง บุหรี่ แอลกอฮอล์ มลพิษ อย่างต่อเนื่อง จะมีการสร้างอนุมูลอิสระมากเกินไป  ยิ่งผนวกกับการไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากพอ ทำให้ร่างกายสร้างสารต้านอนุมูลอิสระได้ไม่พอที่จะต่อกรกับอนุมูลอิสระ จึงเกิดภาวะเครียดจากการมีอนุมูลอิสระเหลือมากเกินไป (Oxidative Stress) ภัยร้ายที่แฝงตัวนี้เสมือนระเบิดเวลาที่รอวันแสดงภาวะเสื่อมทั้งหลายดังกล่าว   การปลดชนวนความเสี่ยงปัญหาสุขภาพด้วยการเติมสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีมากในผักผลไม้ให้ร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำประจำทุกวัน

แต่การเลือกกินผักผลไม้ที่หลากหลาย แม้จะได้สารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากเท่ากัน มีงานวิจัยพบว่า อาหารแต่ละชนิดในน้ำหนักที่เท่ากัน อาจมีปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระแตกต่างกันไป กลุ่มที่พบมาก ได้แก่ พืชกลุ่มเครื่องเทศสมุนไพร เช่น กานพลู มิ้นท์  ถั่วที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงได้แก่ วอลนัท พีแคน เมล็ดทานตะวัน เกาลัด  แต่พบว่าถั่วที่แกะเปลือกและเยื่อออกแล้ว จะมีสารสำคัญลดลง ผลไม้สดจะให้สารสำคัญสูงกว่าผลไม้ที่แปรรูปเป็นแยม เพราะผ่านกระบวนการความร้อน แต่ผักบางชนิด เช่น มะเขือเทศ กลับพบว่าให้สารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายนำไปใช้ได้มากขึ้นเมื่อนำไปปรุงให้สุก ในส่วนของผลไม้นั้นพบว่า กลุ่มเบอร์รี่ เช่น มากิเบอร์รี่ โกจิเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าผลไม้ทั่วไปเกือบสิบเท่า โดยพบว่าสารที่ให้สีเข้มในเบอร์รี่จะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ในส่วนของเครื่องดื่มพบว่าชากาแฟที่ชงใหม่ จะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ชาเขียวหรือชาดำต่างก็มีสารต้านอนุมูลอิสระต่างชนิดกัน กาแฟเอสเพรสโซจะให้สารสำคัญสูงกว่ากาแฟต้มกรองมากกว่าห้าเท่า แต่การบริโภคชากาแฟมากเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียง ใจสั่น นอนไม่หลับ จากคาเฟอีนในบางคน ปัจจุบันจึงได้มีการคัดสรรผลไม้กลุ่มเบอร์รี่ มาผ่านกระบวนการสกัดเพื่อให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระเข้มข้น ในรูปแบบเครื่องดื่มแอนตี้ออกซิแดนท์ ซึ่งแตกต่างจากน้ำผลไม้ทั่วไปที่มีน้ำตาลสูง เป็นอีกทางเลือกเพื่อเสริมประโยชน์ให้ร่างกายโดยสะดวก ทั้งนี้ควรเลือกที่มีผลวิจัยยืนยันประสิทธิภาพ ความปลอดภัย?

อย่างไรก็ดีการเลือกรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อเสริมสุขภาพ ก็ต้องควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารให้ครบหมู่อย่างถูกสัดส่วน พร้อมทั้งลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย จึงจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพองค์รวมที่ดี


ที่มา : http://variety.thaiza.com/