ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)  (อ่าน 12355 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3740
เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 12:38:28 AM
ในปี ค.ศ.1930 ได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐอเมริกา เกิดปัญหาการว่างงาน คนไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม จึงมีนักคิดกลุ่มหนึ่งพยายามจะแก่ปัญหาสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม   ผู้นำของกลุ่มนักคิดกลุ่มนี้ ได้แก่ จอรัจ เอส เค้าทส์ (George S.Counts) ซึ่งมีความเห็นด้วยกับหลักการประชาธิปไตย แต่ต้องเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และควรเห็นว่าโรงเรียนควรมีหน้าที่แก้ปัญหาเฉพาะอย่างของสังคมผู้ที่วางรากฐานและตั้งทฤษฎีปฏิรูปนิยม ได้แก่    ธีโอดอร์ บราเมลด์ (TheodoreBrameld)ในปีค.ศ.1950 โดยได้เสนอปรัชญาการศึกษาเพื่อปฏิรูปสังคมและได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือหลายเล่ม ธีโอดอร์ บราเมลด์ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม

1 แนวความคิดพื้นฐาน

ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดที่พัฒนามาจากปรัชญาพิพัฒนาการนิยม หรือ ปฏิบัตินิยม ซึ่งมีความเชื่อว่า ความรู้ ความจริง เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความรู้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมเน้นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน ส่วนปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริงคำว่า ปฏิรูป หรือ Reconstruct หมายถึง บูรณะ การสร้างขึ้นมาใหม่ หรือทำขึ้นใหม่ เน้นการสร้างสังคมใหม่ เพราะว่าสังคมขณะนั้นมีปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง การศึกษาจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่ดีงามขึ้นมาใหม่ เป็นสังคมในอุดมคติ ที่มีความเพียบพร้อม และจะต้องทำอย่างรีบด่วน

2 แนวคิดทางการศึกษา

เนื่องจาการศึกษามีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก การศึกษาจึงควรนำสังคมไปสู่สภาพที่ดีที่สุด การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจและ มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมอุดมคติขึ้นมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมและภาวะทางเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่

3. จุดมุ่งหมายของการศึกษา

การศึกษาจะต้องมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ระบบสังคมขึ้นมาใหม่จากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ และสังคมใหม่ที่สร้างขึ้นนั้นจะต้องอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย การศึกษาจะต้องส่งเสริมการพัฒนาสังคม ให้ผู้เรียนนำความรู้ไปพัฒนาสังคมโดยตรง

4. องค์ประกอบของการศึกษา

1) หลักสูตร เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคมเป็นส่วนใหญ่จะเน้นวิชาสังคมศึกษา เช่น กระบวนการทางสังคมการดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ศิลปะในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเข้าใจในกลไกของสังคม และสามารถหาแนวทางในการสร้างขึ้นมาสังคมใหม่

2) ครู ทำหน้าที่รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหาของสังคมแล้วเสนอแนวทางให้ผู้เรียนแก้ปัญหาของสังคม ครูจะต้องให้ผู้เรียนทุกคนใส่วนร่วมในการคิดพิจารณาในการแก้ปัญหาต่างๆและเห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์สังคมขึ้นมาใหม่ และเชื่อมั่นว่าจะกระทำได้โดยวิถีทางแห่งประชาธิปไตย

3) ผู้เรียน ปรัชญานี้เชื่อว่า ผู้เรียนคือผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาสังคม และมรความยุติธรรมดังนั้น ผู้เรียนจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในปัญหาสังคมเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกันเพื่อการแก้ปัญหาสังคม ผู้เรียนจะได้รับการเรียนรู้เทคนิควิธีการต่างๆที่จะนำมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของสังคม แล้วให้ผู้เรียนหาข้อสรุปและตัดสินใจเลือก (Kneller 1971 : 36)

4) โรงเรียน ตามปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมโรงเรียนจะมีบทบาทต่อสังคมโดยตรง โดยมีส่วนในการรับรู้ปัญหาของสังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคม รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม ดีงาม โรงเรียนจะต้องใฝ่หาว่า อนาคตของสังคมจะเป็นเช่นไร แล้วนำทางให้ผู้เรียนไปพบกับสังคมใหม่ โดยให้การศึกษาแก่ผู้เรียนเพื่อพร้อมที่จะวางแผนให้กับสังคมใหม่และโรงเรียนจะต้องมีบรรยากาศในการเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นของคน ส่วนใหญ่ ละเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด วงแผน และดำเนินการเป้าหมายของ โรงเรียน คือ โรงเรียนชุมชน (Community school)

5) กระบวนการเรียนการสอน มีลักษณะคล้ายกับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม คือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และลงมือกระทำเอง สามารถมองเห็นปัญหาและเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ด้วนตนเอง โดยใช้วิธีการต่างๆ หลายวิธี เช่นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) วิธีการโครงสร้าง (Project method) และวิธีการแก้ปัญหา (Problem solving)เป็นเครื่องมือ


ที่มา : http://sitawan112.blogspot.com/2012/03/reconstructionism.html