ผู้เขียน หัวข้อ: "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" เสด็จสวรรคตที่เมืองไหนกันแน่  (อ่าน 3510 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3726
              สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ มีพระนามเดิมว่า "พระนเรศ" หรือ "พระองค์ดำ" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๘ ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก มีพระเชษฐภคินีคือพระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช, พระนเรศ, องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช มาเป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ สิริรวมการครองราชสมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ รวมพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษา

             ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ

              การเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยก่อนที่จะเข้าไปตีเมืองอังวะในประเทศพม่านั้น พระองค์ได้เดินทัพมายังเมืองงายในเขตอำเภอเชียงดาว ซึ่งปัจจุบันมีร่องรอยหลักฐานปรากฏให้เห็นอยู่ นอกจากนี้สมเด็จพระนเรศวรยังทำสงครามครั้งยิ่งใหญ่ ที่ทำให้เกิดการจารึกในประวัติศาสตร์ไทย นั่นก็คือ "การทำยุทธหัตถี"

              ในตำนานได้กล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรสทรงนำกองทัพไทยจากกรุงศรีอยุธยาเดินทางมาถึงเมืองเชียงใหม่ เมื่อออกจากเมืองเชียงใหม่แล้วจึงได้แบ่งทัพแยกทางกัน สมเด็จพระนเรศวรฯทรงนำกองทัพไทยออกจากเชียงใหม่พร้อมกับพระเจ้าเชียงใหม่และลูกพระเจ้าเชียงใหม่ทั้งสามไปโดยทัพหลวงยกพยุหโยธาไปทางเมืองหางและโปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรสทรงนำทัพอีกส่วนหนึ่งไปทางเมืองฝางนอกจากนั้นในตำนานพระธาตุเมืองน้อย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีชายแดนอยู่ติดกับพื้นที่อำเภอเวียงแหง

               มีการกล่าวอ้างถึงสถานที่เสด็จเดินทัพผ่านบริเวณบ้านเมืองน้อยเพื่อเข้าไปตีพม่าว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ใช้เส้นทางเดินทัพไปยังประเทศพม่าโดยผ่านเมืองน้อย ซึ่งตอนนั้นเป็นชุมชนของชนเผ่าลัวะ (ปัจจุบันมีเจดีย์โบราณศิลปะล้านนาปรากฏให้เห็น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย-อยุธยา) เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จถึงเขตเมืองหาง ทรงทัพหลวงที่ตำบลทุ่งแก้วหรือทุ่งดอนแก้ว แรมทัพในตำบลนี้ ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวร รับสั่งให้ข้าหลวงไปอัญเชิญสมเด็จพระเอกาทศรสเสด็จจากเมืองฝางไปเข้าเฝ้าในวันเสาร์ขึ้น 6 ค่ำเดือน 6 ปีมะเส็งเบญจศก (พ.ศ.2136) ในวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำเดือน 6 ก็เป็นเวลาที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต ขณะนั้นทรงมีพระชนมพรรษาได้ 50 ปีเสด็จอยู่ในราชสมบัติได้ 15 พระพรรษา

               สถานที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตได้ทรงเป็นพระสถูปเจดีย์ขึ้นที่เมืองหางในรัฐฉานประเทศพม่า ปัจจุบันพระสถูปเจดีย์อันเก่าแก่ได้ถูกทำลายลงหมดสิ้น ไม่มีแม้แต่ซากอิฐเหลือให้เห็น จนประมาณเมื่อปี พ.ศ.2502 ขณะนั้นรัฐบาลพม่าเริ่มปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาวไทยใหญ่ที่ต่อต้านรัฐบาลพม่าเพื่อแยกการปกครองเป็นอิสระแต่พม่าไม่ยอม ชนกลุ่มน้อยชาวไทใหญ่จึงได้ก่อการกบฏขึ้นทั่วทุกหนทุกแห่งในรัฐไทยใหญ่ ได้มีการจัดตั้งกองทัพกู้อิสรภาพของชาวไทยใหญ่ขึ้นเพื่อสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลพม่า

             เมื่อเวลาที่จะออกศึกสู่รบกับฝ่ายรัฐบาลพม่า กองทัพกู้อิสรภาพชาวไทยใหญ่เหล่านี้จะต้องไปบวงสรวงสักการะดวงวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่สถูปเจดีย์ของพระองค์เสียก่อน ปรากฏว่าในการสู้รบทุกครั้งฝ่ายกองทัพกู้อิสรภาพชาวไทยใหญ่มักจะประสบชัยชนะฝ่ายรัฐบาลพม่าอย่างง่ายดาย ทำให้พม่าเคียดแค้นเป็นหนักหนา จึงได้ใช้ระเบิดทำลายพระสถูปเจดีย์เหล่านี้เสียหมด หนำซ้ำยังใช้รถแทร็กเตอร์เกรดทำลายจนราบเรียบไม่เหลือซากให้คณะกู้อิสรภาพไทยใหญ่มาสักการะได้อีกต่อไป ทำให้คนไทยพลอยไม่ได้มีโอกาสเห็นสถานที่ซึ่งวีรบุรุษของชาติสวรรคตอีกเลย

              บริเวณที่ประดิษฐานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้เรียกว่า ?กองมูขุนหอคำไตย? เป็นภาษาไทยใหญ่หมายถึง ?พระเจดีย์ของพระเจ้าแผ่นดินไทย? บริเวณนี้อยู่ห่างจากชายแดนไทย-พม่า ทางด้านตะวันตกของอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่เป็นระยะทางประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เหนือบริเวณนี้ขึ้นไปเล็กน้อย ปัจจุบันคือเมืองแกน เป็นเมืองที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรพระนาภีอย่างหนัก ทรงตั้งทัพอยู่ ณ ที่นั่น คำว่า ?แกน? เป็นภาษาล้านนาและไทยใหญ่แปลว่า ?เจ็บปวดอย่างรุนแรง? เลยเมืองแกนนี้ไปอีกเล็กน้อยเป็นเมืองหาง เมืองงายเป็นเมืองที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกรีฑาทัพผ่านเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง มีผู้พบเสาพะเนียดอยู่เป็นจำนวนมากปรากฏอยู่ ต่อมาทางการได้เก็บรวบรวมและนำไปไว้ที่บริเวณพระสถูปแห่งนี้พร้อมกับซากอิฐจากพระเจดีย์สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่เมืองหาง

               อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องเส้นทางเดินทัพและสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อาจยังไม่ชัดเจน เนื่องจากเรื่องราวในพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งที่เขียนจากไทยและพม่ายังมีข้อมูลบางส่วนไม่ตรงกัน โดยเฉพาะชื่อเมืองที่สวรรคต บ้างก็กล่าวว่าทรงเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง ขณะที่บางตำนานบอกว่าสวรรคตที่เมืองแหน จึงเป็นที่น่าสนใจว่าท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์นักรบของแผ่นดินสยามสวรรคตที่เมืองไหนกันแน่

               สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นับว่าเป็นวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชมาสู่แผ่นดินไทย ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ

Cr.จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ที่มาจาก : Facebook  Narudsaruk Likitcharoenkron