ผู้เขียน หัวข้อ: เชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี  (อ่าน 2723 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3740
เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 07:54:55 PM

พระราชวงศานุวงศ์กรุงธนบุรีมหาราช


1. พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตามที่กล่าวไว้ในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษว่าเป็นขุนพัฒน์ นามเดิมไหยฮอง ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในพระนครศรีอยุธยา แต่ยังไม่พบหลักฐานที่อื่นสนับสนุน

2. สมเด็จพระราชชนนี พระนามเดิมว่า เอี้ยง ดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหลวงพิทักษ์เทพามาตย์ สวรรคตวันอังคารเดือน 8 ขึ้น 6 ค่ำ พ.ศ. 2317 ดูจดหมายเหตุฉบับลงวันอังคาร เดือน 6 แรม 2 ค่ำ ปีมะแม จ.ศ. 1137 (พ.ศ. 2318) และหมายรับสั่ง ลงวันศุกร์เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ จ.ศ. 1138 ( พ.ศ. 2319 )

3. สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระนามเดิมว่าสิน มีพระบรมนามาภิไธยเมื่อปราบดาภิเษกแล้ว ตามที่ปรากฏในศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี ซึ่งกำกับพระราชสารไปยังกรุงศรีสัตนาคนหุต ออกพระนามว่าพระศรีสรรเพ็ชญ์ สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดีที่สำหรับออกพระนามในศุภอักษรชองพระเจ้า ประเทศราชว่าสมเด็จพระเอกาทศรศรฐ ส่วนที่ออกพระนาม ในพระราชพงศาวดาร ฉบับทรงชำระในรัชกาลที่ 1 ว่า สมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้าสมภพเมื่อ ปีขาล พ.ศ. 2277 มีเชื้อชาติสืบจากจีน รับราชการจนได้เป็นที่พระเจ้าตากก่อนพระชนมายุ 31 ปี แล้วเลื่อนเป็นพระยากำแพงเพ็ชรเจ้าเมืองชั้นโท เพราะ ความชอบในการสงครามที่ต่อสู้พม่าเมื่อก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ถึงต้นปีกุน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ทรงพยายามกู้คืน จากเงื้อมมือพม่าเสร็จในปลายปีนั้น รุ่งขึ้นนปีชวดพ.ศ. 2311 ณ วันอังคารเดือนอ้าย แรม 4ค่ำ ได้ปราบดาภิเษกถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ถูกสำเร็จโทษเปลี่ยนพระราชวงศ์ใหม่ ต่อมา พ.ศ. 2327 ถวายพระเพลิงพระบรมศพที่วันอินทาราม บางยี่เรือ ธนบุรี

4. สมเด็จพระน้านาง พระนามเดิมว่า อั๋น ดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมหลวงเทวินทรสุดา อยู่มาถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ถูกลดพระยศลงเป็นเพียง หม่อมอั๋น

5.สมเด็จพระราชินี (หอกลาง) พระนามเดิมว่า สอน ดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมหลวงบาทบริจา อยู่มาถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ถูกลดพระยศลงเป็นเพียง หม่อมสอน

6.พระราชโอรสธิดา 29 องค์ คือ
1) สมเด็จพระมหาอุปราชเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระนามเดิมว่า จุ้ย ที่ 1 ในสมเด็จพระราชินี ดำรงพระราชตำแหน่งรัชทายาท ( มีปรากฏในประชุมพงศาวดารภาคที่ 39 หน้า 138 ) ถูกสำเร็จโทษ วันเสาร์ เดือน 6 แรม 8 ค่ำ พ.ศ. 2325 ต้นสกุล สินสุข และสกุล อินทรโยธิน
2) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายน้อยที่ 2 ในสมเด็จพระราชินี ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
3) พระองค์เจ้าชายอัมพวัน ในเจ้าจอมมารดาทิม ( ม.ร.ว. ราชตระกูลกรุงเก่า ธิดาท้าวทรงกันดาล ทองมอญ ) พระญาติแห่งสกุลศรีเพ็ญ
4) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศพงษ์ที่ 1 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิง ฉิม หรือเรียกในราชสำนักนครศรีธรรมราชว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่ ราชธิดาของพระเจ้านครศรีธรรมราช ) ในรัชกาลที่ 2 เป็นพระพงษ์อำมรินทร์ ( หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า พระพงษ์นรินทร์ ) ต้นสกุลพงษ์สิน
5) สมเด็จฯเจ้าฟ้าหญิงโกมล
6) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าหญิงบุบผา
7) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสิงหรา

8.) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายศิลา ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระยาประชาชีพ ต้นสกุล ศิลานนท์
9) พระองค์เจ้าชายอรนิกา บรรพบุรุษแห่งสกุลรัตนภาณุที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาอำพัน (ธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นต้นสกุลจันโรจวงศ์ ) ถูกสำเร็จโทษเมื่อจะเริ่มรัชกาลที่ 2 วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 พร้อมกับสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต
10) พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี
11) พระองค์เจ้าชายธำรง
12) พระองค์เจ้าชายละมั่ง
ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระยาสมบัติบาล
13) สมเด็จฯเจ้าฟ้าชายเล็ก (แผ่นดินไหว)
14) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศไภย เป็นโอรสองค์ที่ 2 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นพระอินทอำไพ (หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่าพระอินทรอภัย) ถูกสำเร็จโทษใน พ.ศ. 2358 เป็นพระบิดาเจ้าจอมมารดาน้อย ต้นสกุล นพวงศ์ และสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา
15) พระองค์เจ้าหญิงจามจุรี
16) พระองค์เจ้าหญิงสังวาล
17) พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ
ต้นสกุล อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาอำพัน (ธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ แห่งนครศรีธรรมราช) ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณเป็นพระราชชายากรมพระราชวังบวร รัชกาลที่ 2 แล้วถูกสำเร็จโทษ วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 พร้อมกับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต
18.) สมเด็จฯ เจ้าฟ้านเรนทรราชกุมารที่ 3 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นพระนเรนทรราชา ดำรงพระชนม์มาถึงรัชกาลที่ 3 เป็นต้นสกุลรุ่งไพโรจน์
19) พระองค์เจ้าชายคันธวงศ์
20) พระองค์เจ้าชายเมฆิน
21) พระองค์เจ้าชายอิสินธร
22) พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์
ในเจ้าจอมมารดาเงิน
23) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ ในเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ ( พระราชธิดาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ) ถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ แล้วได้ทรงกรมเป็นกรมขุนกษัตรานุชิต ทรงสถาปนาวัดอภัยธารามสามเสน เมื่อจะเริ่มรัชกาลที่ 2 วันพุธ เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ พ.ศ. 2352 ถูกสำเร็จโทษพร้อมกับเจ้าชายที่เป็นโอรสเล็กๆ อีก 6 องค์
24) พระองค์เจ้าชายบัว
25) สมเด็จฯเจ้าฟ้าปัญจปาปีที่ 4 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 1 เป็นพระชายาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ราชภาคิไนยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
26) เจ้าชายน้อย ( ในฐานะเป็นราชบุตรบุญธรรมแห่งพระมหาอุปราชแห่งนครศรีธรรมราช) ในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง ( ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเล็กของนครศรีธรรมราช) กนิษฐภคินีของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช มีสกุลที่สืบมา คือ ณ นคร โกมารกุล จาตุรงคกุล
27) พระองค์เจ้าชาย
(28) พระองค์เจ้าชายหนูแดง
(29) พระองค์เจ้าหญิงสุดชาตรี


7. พระเจ้าหลานเธอ 4 องค์ คือ
1) พระเจ้านราสุริวงศ์ เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราช ทิวงคต พ.ศ. 2319 (มีปรากฏในพระราชพงศาวดารและหมายรับสั่ง)
2) กรมขุนอนุรักษ์สงคราม พระนามเดิมว่า บุญมี เป็นเจ้ารามลักษณ์ก่อน ต่อมามีความชอบในการสงครามจึงได้ทรงกรม ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
3) กรมขุนรามภูเบศร์ พระนามเดิมว่า บุญจันทร์ เป็นเจ้าบุญจันทร์ ก่อน ต่อมามีความชอบในการสงครามจึงได้ทรงกรม ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ. 2325
4) กรมขุนสุรินทรสงคราม (มีปรากฏในบัญชีมหาดไทย ดูประชุมพงศาวดารภาคที่ 65 หน้า 114 )

8. พระราชวงศานุวงศ์ที่ไม่ทราบระดับราชสัมพันธ์ 4 องค์ คือ
1) ในกรมขุนอินทรพิทักษ์ สิ้นพระชนม์ก่อน พ.ศ. 2320 (มีปรากฏในหมายรับสั่ง)
2) หม่อมเจ้าแสง สิ้นชีพตักษัยก่อน พ.ศ. 2321 (มีปรากฏในหมายรับสั่ง)
3) หม่อมเจ้าปทุมไพจิตร (มีปรากฏในจดหมายเหตุทรงตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราช)
4) หม่อมเจ้านราภิเบศ (มีปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับ ชำระเรียบเรียงในรัชกาลที่ 1 คือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 65

9. จำนวนสมาชิกเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี ตั้งแต่ ชั้น 1 ถึงชั้น 8 ตามรายพระนาม และนามเท่าที่ปรากฏ(เพียงพ.ศ. 2522) มีรวม 1200 เศษ

10. สกุลสายตรง คือ
1) สินสุข วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช
2) อินทรโยธิน วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช
3) พงษ์สิน วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์
4) ศิลานนท์ วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา
5) รุ่งไพโรจน์ วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร
6) ณ นคร วงศ์เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)
7)โกมารกุล ณ นคร วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)
8.) จาตุรงคกุล วงศ์ เจ้าพระยานคร (เจ้าชายน้อย)

11. ผู้ที่อยู่ในสกุลสายตรง ที่มีศักดิ์สูงมีจำนวนดังนี้ คือ
1) สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน  1
2) สมเด็จพระมหาอุปราช  1
3) สมเด็จเจ้าฟ้า  11
4) พระองค์เจ้า  16
5) หม่อมเจ้า  17
6) เจ้าพระยา  8
7) พระยา  23
8.) คุณเท้า  2
9) เจ้าจอม  37
10) หม่อมห้าม  16
11) คุณหญิง  14

12. สกุลที่สืบตรงทางสายหญิง คือ
1) อิศรเสนา ณ อยุธยา
2) ธรรมสโรช
3) นพวงศ์ ณ อยุธยา
4) สุประดิฐ ณ อยุธยา
5) ศรีธวัช ณ อยุธยา
6) วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
7) รัตนโกศ
8.) ภาณุมาศ ณ อยุธยา
9) กาญจนวิชัย ณ อยุธยา

13. สกุลเกี่ยวพันทางสายหญิง
คือ
1) อิศรากูร ณ อยุธยา
2) ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา
3) เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
4) กุญชร ณ อยุธยา
5) ชุมสาย ณ อยุธยา
6) ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
7) สุริยกุล ณ อยุธยา
8.) แสงชูโต
9) รัตนภาณุ
10) วิภาตะศิลปิน
11) ศรีเพ็ญ
12) ศรียาภัย
13) เทพหัสดิน ฯ อยุธยา
14) บุนนาค
15) บุรานนท์
16) สุวงศ์
17) ลักษณสุต
18) สุขกสิกร
19) บุรณศิริ
20) แดงสว่าง
21) กมลาศน์ ณ อยุธยา
22) แสงต่าย
23) มิตรกุล
24) จุลดิลก
25) สายะศิลป์
26) พนมวัน ณ อยุธยา

14. ผู้อยู่ในสกุลอันสืบทางสายหญิง ที่มีศักดิ์สูง คือ
1) พระองค์เจ้า  15
2) หม่อมเจ้า  23
3) พระยา  3
4) เจ้าจอม  3
5) หม่อมห้าม  2

บัญชีลำดับวงศ์ขุนหลวงตากนี้ ว่าเดิมพระยาราชสัมภารากร (เลื่อน) ผู้เป็นเป็นสมาชิกในสกุลคนหนึ่ง ได้เรียบเรียบขึ้นไว้ แล้วลอกคัดกันต่อๆไป ในเชื้อสายของสกุล ได้สำเนามายังหอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2460 ในบัญชีเชื้อวงศ์ขุนหลวงตาก


ที่มา : http://kingtaksinthegreat.blogspot.com/2008/03/blog-post.html