ผู้เขียน หัวข้อ: ศาสตร์พระราชา : จากภูผา สู่มหานที  (อ่าน 5502 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3740

ศาสตร์การจัดการและการอนุรักษ์น้ำของพระราชา จากฟากฟ้าลงภูผา ผ่านทุ่งนาสู่มหานที

โครงการฝนหลวง

     วิธีทำฝนหลวงมีอยู่๓ขั้นตอนคือ
                ขั้นตอนที่ ๑  ก่อกวน คือการดัดแปรสภาพอากาศหรือก้อนเมฆในขณะนั้นเพื่อกระตุ้นให้มวลอากาศ ชื้นไหลพาขึ้นสู่เบื้องบนอันเป็นการชักนำไอน้ำหรืออากาศชื้นเข้าสู่กระบวน การเกิดเมฆ
                ขั้นตอนที่ ๒  เลี้ยงให้อ้วน  คือการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อทำให้เมฆเจริญขึ้นจนมีขนาดใหญ่หนาแน่นและพร้อมที่จะตกลงมาเป็นฝน
                ขั้นตอนที่ ๓ โจมตี  คือการดัดแปรสภาพอากาศที่จะกระตุ้นให้เม็ดละอองเมฆปะทะชนกันแล้วรวมตัว เข้าด้วยกัน  จนมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการลดแรงไหลพาขึ้นเบื้องบนเพื่อให้เม็ดน้ำ มีขนาดใหญ่ตกลงสู่เบื้องล่างแล้วเกิดเป็นฝนตกลงมาสู่เป้าหมาย

ฝายชะลอความชุ่มชื้น(CheckDam)

                ใช้วัสดุธรรมชาติที่หาง่ายในท้องถิ่นเช่นก้อนหินและไม้เพื่อก่อเป็นฝายขวางร่องน้ำหรือห้วยเล็กๆทำหน้าที่กักกระแสน้ำไว้ให้ไหลช้าลงและให้น้ำสามารถซึม  ลงใต้ผิวดินสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณนั้น    อีกทั้งยังช่วยดักตะกอนดินและทราย ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง

แฝก
                การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับเพื่อช่วยชะลอความชุ่มชื้นไว้ในดิน  โดยรากของหญ้า แฝกจะขยายออกด้านข้างเป็นวงเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน๕๐เซนติเมตรและจะแทงลงไป เป็นแนวลึกใต้ดิน๑-๓เมตรแล้วสานกันเป็นแนวกำแพงดูดซับความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ดิน

ทฤษฎีใหม่

                เป็นการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กบนผิวดินในพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรโดยแบ่ง ที่ดินสำหรับใช้ขุดเป็นสระเก็บน้ำให้สามารถใช้ทำการเกษตรได้ตลอดปีและสามรถ เลี้ยงปลาไปพร้อมๆกันนอกจากนี้บริเวณขอบสระยังสามารถใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ได้อีกด้วย

โครงการแก้มลิง

                หลักการของโครงการ  คือเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองชักน้ำให้ไหลมารวมกันเก็บไว้ ในแหล่งพักน้ำแล้วจึงค่อยทำการระบายลงสู่ทะเลผ่านทางประตูระบายน้ำในช่วงที่ ปริมาณน้ำทะเลลดลง  ขณะเดียวกันก็สามารถสูบน้ำออกจากคลองที่เป็นแก้มลิงลงสู่  ทะเลตลอดเวลาเพื่อที่น้ำจากตอนบนจะได้ไหลลงมาได้เรื่อยๆและเมื่อใดก็ตามที่ ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงกว่าระดับน้ำในคลองที่เป็นแก้มลิงก็ให้ปิดประตูระบายน้ำกั้นไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับเข้ามา

การใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย

                เป็นการนำน้ำคุณภาพดีจากแม่น้ำเจ้าพระยาส่งเข้าไปไล่น้ำเสียตามคลองใน เขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้แก่คลองบางเขนคลองบางซื่อคลองแสนแสบคลองเทเวศร์และ คลองบางลำภูเพื่อช่วยลดปัญหา ความเน่าเสียของน้ำในคลองต่างๆคล้ายกับ  การ?ชักโครก?คือปิดและเปิดน้ำให้ได้จังหวะตามเวลาน้ำขึ้น-น้ำลงหากน้ำขึ้น สูงก็เปิดประตูน้ำให้น้ำดีเข้าไปไล่น้ำเสียครั้นน้ำทะเลลงก็เปิดประตูถ่าย น้ำเสียออกจากคลองไปด้วย

กังหันน้ำชัยพัฒนา
                ใช้บำบัดน้ำเสียที่เกิดจากชุมชนและอุตสาหกรรมลักษณะเป็นเครื่องกลหมุนช้าแบบทุ่นลอยเพื่อช่วยเติมออกซิเจนที่ผิวน้ำ

การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์

                วิธีที่ ๑ การใช้น้ำหมักชีวภาพ
                โดยการใช้น้ำหมักชีวภาพปริมาณ ๑ ต่อ ๕๐๐ ส่วนราดลงทั้งในน้ำทิ้งจากครัวเรือน ตลาดสดฟาร์มปศุสัตว์หรือโรง-งานอุตสาหกรรมเพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย อินทรีย์สารในแหล่ง  น้ำนอกจากนี้น้ำหมักชีวภาพยังสามารถนำไปใช้ได้ดีในการ ปรับสภาพน้ำในบ่อประมงทั้งบ่อเลี้ยงกุ้งและปลาได้เป็นอย่างดี

                วิธีที่ ๒ ลูกระเบิดจุลินทรีย์
                เป็นการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำให้ดีขึ้นด้วยจุลินทีย์เช่นเดียวกับการใช้น้ำ หมักประกอบด้วยโคลนจากท้องน้ำ ๕๐กิโลกรัม,รำ๑๐กิโลกรัม,ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดหรือ ผง๕๐กิโลกรัมและน้ำหมักชีวภาพที่หมักจนได้ที่แล้ว ๓ เดือนขึ้นไปโดยนำทุกอย่าง มาผสมเข้าด้วยกันจนสามารถปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าลูกเปตองนำไปผึ่งไว้ในที่ร่ม จนแห้งสามารถนำไปบำบัดน้ำได้โดยใช้ในอัตราส่วน๕กิโลกรัมต่อน้ำ๑ล้านลิตร หรือ๒๕กิโลกรัมต่อพื้นที่ไร่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่เน่าเสีย

ที่มา : www.kasetporpeangclub.com   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 28, 2016, 09:14:44 AM โดย เลิศชาย ปานมุข »