ผู้เขียน หัวข้อ: ??การศึกษาที่เลือกได้? สถานการณ์การศึกษาทางเลือกในประเทศไทย  (อ่าน 2087 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3740
คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย และ ASHOKA Fellow บรรยายในหัวข้อ "การศึกษาที่เลือกได้" บนเวทีสนทนาคืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง

******************

วิกฤติการศึกษาไทย สามารถสรุปได้ 3 ประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1 เป้าหมายการศึกษา : ในขณะนี้มีความผิดเพี้ยนไป คับแคบ และเริ่มไม่ตอบโจทย์การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน แต่มีเป้าหมายเพียงผลิตคนเพื่อป้อนตลาดแรงงาน ในขณะที่ตลาดแรงงานก็หดตัวแคบลง

ประเด็นที่ 2 กระบวนการเรียนรู้ : การเรียนในห้อง-ท่องจำ-สอบ-เลื่อนชั้น แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เราต้องปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน เพื่อให้รู้จริง รู้งจัง รู้แจ้ง รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ รู้รอบ

ประเด็นที่ 3 การบริหารแบบรวมศูนย์และแยกส่วน : การบริหารการศึกษาเป็นการรวมศูนย์และผูกขาดจากส่วนกลาง แต่กลับทำงานแยกส่วนกันหมด ไม่ประสานงานกัน ยึดติดกับโครงสร้าง และเปลี่ยนแปลงไปตามการเมือง ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

เราต้องพิจารณาว่า ศักยภาพของมนุษย์นั้นมีความแตกต่างหลากหลาย เรามีกลุ่มชาติพันธุ์ไม่น้อยกว่า 50 กลุ่ม กระจายตัวอยู่ในประเทศไทย แต่เรากลับใช้วิธีเรียนเหมือนกันหมด... ?การศึกษาที่แท้จริง คือการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกายใจและจิตวิญญาณ พัฒนาความเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างสังคมที่ดีในอนาคต?

สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกจึงปรับวิสัยทัศน์ใหม่จากเดิมที่การศึกษาทางเลือก คือช่องทางเล็กๆ สำหรับคนที่ไม่เข้าศึกษาในกระแสหลัก เป็นการศึกษาที่ทุกคนมีสิทธิ์เลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับชีวิตของตนเอง เหมาะกับศักยภาพ ความรัก ความชอบ ความถนัดและความใฝ่ฝันของตนเอง และเมื่อเราได้เลือกการศึกษาที่เหมาะกับเรา เราก็จะมีความสุข มีพลังในการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่เต็มศักยภาพ ไม่ใช่การบังคับให้เราไปเรียนในสิ่งที่เราไม่อยากเรียน

จากงานวิจัยพบว่าปัจจุบันในประเทศไทยมีการศึกษาทางเลือกอยู่แล้ว อย่างน้อย 7 แบบ ได้แก่

1.การจัดการเรียนรู้โดยครอบครัว (Home School) จัดตั้งเป็นสมาคมบ้านเรียนไทย มีสมาชิก 400-500 ครอบครัว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

2.สถาบันการเรียนรู้ทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลามและอื่นๆ เช่น ตาดีกา ปอเนาะ ดอยผาส้ม สัมมาสิกขา เป็นต้น

3.การจัดการศึกษาโดยครูภูมิปัญญา เช่น โครงการสืบสานภูมิปัญญาที่มีครูภูมิปัญญากว่า 100 ท่าน เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้มากกว่า 30 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่และขยายตัวไปในจังหวัดอื่นๆ และเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา มีครูภูมิปัญญากว่าหมื่นคนทั่วประเทศ ที่ไม่สามารถเชื่อมเข้ากับระบบการศึกษากระแสหลักได้

4.การจัดการศึกษาที่อิงระบบ เช่น เป็นกลุ่มครู หรือโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการศึกษาที่เชื่อมโยงบ้าน-วัด-โรงเรียน-ชุมชนเข้าด้วยกัน หรือโรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งเป็นโรงเรียนทางเลือกที่มีเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนทอสี รุ่งอรุณ ไตรสิกขา ปัญญาประทีป อมาตยกุล เป็นต้น

5.การจัดการศึกษาโดยสถาบันนอกระบบ เช่น มูลนิธิโรงเรียนชาวนา โรงเรียนกรรมกร โรงเรียนประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วิทยาลัยวันศุกร์ เป็นต้น

6.กลุ่มกิจกรรมการเรียนรู้ มีไม่น้อยกว่า 60,000 กลุ่ม เป็นกลุ่มเรียนรู้และมีกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น กลุ่มป่าชุมชน กลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมือง กลุ่มออมทรัพย์ เป็นต้น

7.แหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ เช่น ศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ สื่อที่จัดการเรียนรู้ เช่น TPBS วิทยุและโทรทัศน์ชุมชน หรือรายการทุ่งแสงตะวัน เป็นต้น

เราจำเป็นต้องมีการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อรองรับความหลากหลายของคนในสังคม ที่มีหลากหลายศักยภาพ หลากหลายชาติพันธุ์ และหลากหลายพื้นที่ เพื่อให้การเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ที่เต็มศักยภาพ และสร้างพลเมืองได้อย่างแท้จริง

?เพราะมันถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องกระจายอำนาจไปสู่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุุมชน ท้องถิ่น และสังคม"
: ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ

ที่มา : https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/9785