ผู้เขียน หัวข้อ: การเรียนรู้จากวัฒนธรรมสัญจรสู่สถานศึกษา  (อ่าน 2182 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3893
          เรื่อง  : พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ

          การใฝ่รู้สู้สิ่งยากนั้นคือ การค้นหาคนดีมีวิชาความรู้ในที่ต่างๆ แม้จะอยู่ในป่าในเขาก็ดั้นด้นหาและขอเป็นศิษย์รับการถ่ายทอดวิชา

          กรเริ่มต้นหาความรู้นั้น ในอดีตใช้

          วิธีการเล่าเรียนเพื่อให้เกิดความรู้ ดังนั้นการเล่าเรียนจึงต้องมีผู้เล่า อย่างพระมหาเถรปู่ครู หรือนักปราชญผู้รู้จริงคอยบอกเล่าให้จำให้รู้ ครั้นเมื่อมีการจัดการศึกษาขึ้นในสังคม วัดจึงเป็นโรงเรียนแห่งแรก ของประชาชน โดยมีพระเถระผู้รู้ธรรมเป็นครูพระและนักปราชญราชบัณฑิตเป็นผู้สอนหนังสือให้อ่านออกเขียนได้ และมีความแตกฉานในด้านวรรณคดีและการเขียนด้วยลายมืออย่างที่รู้กันทั่วไปว่า "ลายมือนั้นคือยศ"

          หลังจากที่มีพระราชบัญญัติการประถมศึกษาขึ้นในรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ.2464 นั้นโรงเรียนประชาบาลจึงมีบทบาทแทนวัดจัดการเล่าเรียนไปทั่วประเทศ โดยมีผู้รู้ที่ผ่านการฝึกหัดออกมาเป็นครูสอนและผู้แต่งตำราเรียน ต่อมาจึงการขยายชั้นเรียนจากประถม มัธยมและอุดมศึกษา มีการสอบไล่ขึ้นชั้นตามแบบอย่างสิงคโปร์ จนมาสอบวัดผลปลายปี ดูเป็นอาการวุ่นวายจนระบบการศึกษาต้องมีการปฏิรูปทั้งหลักสูตรตามสาระการเรียนรู้และปฏิรูปจัดการเรียนการสอนจนต้องมีการประเมินผลวัดคุณภาพกันขึ้น

          ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานนั้น ถือเป็น ตัวชี้วัดในระดับต้นๆ ที่เป็นความสำเร็จให้กับ ผู้ที่ใฝ่รู้สู้สิ่งยาก ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้จากทุกแห่ง และทุกเรื่องที่มีฐานความรู้คือ มีผู้รู้จริงถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติให้มีความชำนาญได้ ด้วยความอดทน ตั้งใจและมุ่งมั่นนั้น ความรู้ที่ไม่มีการเรียนในชั้นเรียนก็สามารถสร้างอาชีพสร้างงานให้กับทุกคนได้ ก่อนนั้นการใฝ่รู้สู้สิ่งยากนั้นก็คือการค้นหาคนดีมีวิชาความรู้ในที่ต่างๆ แม้จะอยู่ในป่าในเขาก็ดั้นด้นหาและขอเป็นศิษย์รับการถ่ายทอดวิชา ดังปรากฏในวรรณคดีหลายเรื่องที่มักจะกล่าวถึงพระอาจารย์ หรือฤาษีมีวิชา ดังนั้นสำนักตักสิลาหรือแหล่ง เรียนรู้นั้นจึงเกิดขึ้นไม่มากเหมือนร้านขายของหรือร้านเกม นานวันเมื่อหาผู้สืบทอดวิชาไม่ได้ ความหมดสิ้นของวิชาความรู้ก็ตายตามตัว พระอาจารย์หรือครูผู้รู้ไป

          ส่วนวิชาการที่มีการถ่ายทอดไว้ จึงมีการต่อวิชาหรือค้นหาผู้รู้มาสร้างแบบเรียนสร้างฐานความรู้ขึ้นให้วิชาการนั้นคงอยู่ ส่วนการสอนนั้นจะใช้ศิษย์ค้นหาผู้รู้อย่างแต่ก่อนหรือให้ผู้รู้เคลื่อนที่ไปหาศิษย์เรียนนั้นเป็นเรื่อง วิธีการถ่ายทอดที่แต่ละวิธีนั้นล้วนเป็นเจตนาของสืบทอดและถ่ายทอดความรู้สู่ผู้สนใจ ซึ่งขึ้นอยู่โอกาส     เมื่อระบบการศึกษาปัจจุบันมีทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) เกิดขึ้นมากมาย ความสนใจใฝ่รู้ก็ดูเหมือนจะใช้ไม่ได้ ในปัจจุบัน ต้องเข้าใจกันก่อนว่า การเรียนรู้นั้น คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ความคิด สามารถเรียนได้จากการ ได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การ เรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จึงแตกต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่  แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ ผู้สอนนำเสนอ

          การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้ เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ซึ่งมีทฤษฎีการเรียนรู้เกิดขึ้นอยู่หลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีของ บลูม (Bloom's Taxonomy) ทฤษฎีของ เมเยอร์ (Mayor) ทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner) ทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) ทฤษฎีของกาเย่ (Gagne) เป็นต้น ซึ่งเป็นค่านิยมการเรียนรู้แบบตะวันตกที่ทำให้สังคมวุ่นวายมากกว่าสร้างสรรค์ และทิ้งการเรียนรู้แบบ "ครูพักลักจำ" แบบไทยไทยไปสิ้น

          การเรียนรู้แบบครูพักลักจำนั้น เกิดได้ต้องมีผู้สนใจที่ต้องการจะมีความรู้ในวิชาการที่ชอบ และหาโอกาสเรียนรู้จากผู้รู้จริงทุกทาง เมื่อกระทรวงวัฒนธรรมได้มองเห็นความสำคัญต่อการจัดวัฒนธรรมสัญจรสู่สถานศึกษา จึงเป็นโอกาสที่ทำหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ได้ร่วมกันจัดนำความรู้ของแต่เนื้อหา โดยเฉพาะกระทรวงวัฒนธรรมนั้น นำงานด้านศิลปวัฒนธรรมไปสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบนำความสุขในรูปแบบของความรู้ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และประสบการณ์มาให้แก่ผู้เรียนซึ่งเป็นเด็กและเยาวชน ผู้สนใจ

          โดยมีเป้าหมายว่าเด็กและเยาวชน นั้นเป็นทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคตดังนั้นการที่สร้างเสริมให้เด็กและเยาวชน คนรุ่นใหม่ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพและมีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องส่งเสริมความรู้หลายด้าน รวมถึง การปลูกฝังค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ และจิตสำนึกที่ดีงาม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมพร้อมกับฝึกทักษะ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา อย่างมีเหตุมีผลในเชิงวิทยาศาสตร์ เรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน อันจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สืบสานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป

          การที่กระทรวงวัฒนธรรมได้บูรณาการดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในสังกัดเพื่อจัดกิจกรรมเรียนรู้ขึ้นประกอบด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จัดสาธิตจักสาร เตยปาหนัน สาธิตร้อยลูกปัดโนรา สาธิตแกะ หนังตะลุง จัดฉายภาพยนตร์ 3 มิติ กรมการศาสนา จัดฐานแสดงตนเป็นพุทธมามะกะ ฐานมุมสงบพบพระห้องเรียนเกมคุณธรรม ห้อง เกมสีขาว จัดฉายภาพยนตร์เมืองนิรมิตแห่งจิตตนคร กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ จัดสาธิตระบายสีหัวโขน รถพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดสาธิตมารยาทไทย ห้องเรียนหมอภาษา และนิทรรศการ "เจ้าฟ้านักอ่าน" สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จัดสาธิตการเขียนผ้าบาติก และสาธิตศิลปะประดิษฐ์

          นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่ายทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ผนึกกำลัง ร่วมมือกันขับเคลื่อนสังคมคุณภาพในการจัดกิจกรรมโดยใช้มิติทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม กล่อมเกลาจิตใจ ตลอดจนเป็นแนวทางดำเนินชีวิตบนวิถีแห่งความพอเพียง ด้วยการประพฤติดี มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริตในกิจกรรม ภายในงาน ที่จัดขึ้น นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการเรียนรู้จาก "งานวัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ สร้างโอกาสให้เด็กกระบี่" เมื่อวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา      จริงอยู่การเรียนรู้ตามทฤษฎีนั้นไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความจำ (Knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด ความเข้าใจ (Comprehend) การประยุกต์ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ การสังเคราะห์ (Synthesis) ให้สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่และการประเมินค่า (Evaluation) ที่วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัดนั้น ก็เป็นเพียงทฤษฎีที่ว่าตามกันหากผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงโดย ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเองได้ในเนื้อหาอันเหมาะสมแก่สังคมได้ ก็ย่อมสร้างความ ต่อเนื่อง (Continuity) ในวิชาทักษะที่ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรม และให้มีประสบการณ์บ่อยๆ อย่างต่อเนื่องกัน มีการจัดช่วงลำดับ (Sequence) ให้สามารถการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก

          ดังนั้นการจัดกิจกรรมเรียนรู้และเน้นประสบการณ์จึงต้องมีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นนั้น โดยมีการบูรณาการ (Integration) ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์ในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ดังนั้น ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อมจริง

          เช่นเดียวกับการจัดการเรียนรู้วัฒนธรรมสัญจรสู่สถานศึกษา...ที่น่าจะเป็นตัวอย่างหนึ่งในระบบการเรียนรู้ของประเทศที่ต้องทบทวนใหม่ให้มีการปฏิรูปเดินหน้าประเทศทั้งหมดฐานการถ่ายทอดการแสดงจากศิลปินพื้นบ้าน

          ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ