ผู้เขียน หัวข้อ: "ตรีรัตนะ" สัญลักษณ์แทนพระรัตนตรัยทั้งสาม  (อ่าน 5250 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3740

รู้หรือไม่ว่า ก่อนมีการสร้างพระพุทธรูปโดยกรีก นอกจากชาวพุทธจะทำรอยพระพุทธบาทแทนพระพุทธเจ้าแล้ว และธรรมจักรแทนพระธรรมและการหมุนวงล้อธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ในสมัยพระเจ้าอโศกยังมีสัญลักษณ์หนึ่งซึ่งแทนพระรัตนตรัยทั้งสามได้ นั่นก็คือสัญลักษณ์ ตรีรัตนะ

ตรีรัตนะ เป็นสัญลักษณ์มงคลของชาวอินเดียโบราณรูปแบบของสัญลักษณ์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน คือ ส่วนของวงกลม และส่วนของสามแฉก

ในศาสนาพราหมณ์เรียกสัญลักษณ์นี้ว่า นนทิบาท หมายถึง รอยเท้าของโคนนทิ พาหนะของพระศิวะ ในศาสนาเชนเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า ตรีรัตนะ หมายถึง หลักธรรม ๓ ประการ คือ รู้ชอบ ปฏิบัติชอบ และศรัทธาชอบ ในศาสนาพุทธเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า ตรีรัตนะ หมายถึง แก้ว ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ในประเทศอินเดียได้พบสัญลักษณ์นนทิบาทหรือตรีรัตนะหลายรูปแบบซึ่งปรากฏอยู่บนสถาปัตยกรรม ประติมากรรม เหรียญ ภาชนะ และได้พบสัญลักษณ์ตรีรัตนะที่ทำเป็นเครื่องประดับโดยพบในรูปแบบของปิ่นปักผม แหวน และจี้ ซึ่งพบที่เมืองตักษิลา เมืองโภคาร์ดาน เมืองนครี และเมืองนาคารชุนโกณฑะ เป็นต้น

จี้ตรีรัตนะที่พบทำจากวัตถุดิบหลากชนิด อาทิ หินกึ่งรัตนะ-ชาติ งาช้าง เปลือกหอย ปะการัง ดินเผา และทองแดง และพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าชาวอินเดียโบราณใช้เครื่องประดับรูปตรีรัตนะ คือ ได้พบภาพสลักที่สถูปภราหุตเป็นรูปนางยักษิณีสวมสร้อยคอที่มีจี้เป็นรูปตรีรัตนะ จี้ตรีรัตนะที่พบในประเทศอินเดียคงจะเป็นเครื่องประดับและเป็นเครื่องรางของชาวอินเดีย และยังได้พบตรีรัตนะในภาคใต้ของประเทศไทยอีกด้วย

ความหมายของตรีรัตนะในศาสนาพุทธ


ตรีรัตนะ หมายถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญมากในพุทธศาสนา มีดังปรากฏเป็นรูปแกะสลักที่สถูปสาญจี และนิยมต่อเนื่องมาจนถึงสมัยมถุรา และอมราวดี สัญลักษณ์ตรีรัตนะสามารถอธิบายได้ดังนี้
ดอกบัว หมายถึง การตรัสรู้ หรือการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์
วงกลม หมายถึง ความไม่มีที่สิ้นสุด หรือความว่าง อันมีลักษณะไม่มีที่สิ้นสุด ดอกบัวในวงกลมจึงหมายถึง ธรรมะ อันมีลักษณะไม่มีที่สิ้นสุด
เปลวรัศมี คือแสงสว่าง อันแผ่ไปได้รอบตัวที่พุ่งขึ้นไปเป็น 3 ยอด ทำนองว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทำให้เกิดรัตนะทั้งสามขึ้นในโลก


ที่มา เพจเฟซบุ๊ค พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก