ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานพระนางมัสสุหรี พระนางเลือดขาว แห่งเกาะลังกาวี  (อ่าน 20930 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3726

เกาะลังกาวี (ภาษามลายู: Langkawi) เป็นเกาะเล็กตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสหพันธรัฐมาเลเซีย ฝั่งทะเลอันดามัน ของคาบสมุทรมาเลเซีย อยู่ในรัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ห่างจากเกาะตะรุเตา เพียง 4.5 กม. ซึ่งใกล้กับชายแดนไทย อยู่ห่างจากเมือง กัวลาเปอร์ลิสประมาณ 30 กม. และเมืองกัวลาเคดะห์ 51 กม. ประกอบด้วยกลุ่มเกาะเมืองร้อนจำนวน 99 เกาะ เกาะใหญ่รู้จักทั่วไปในชื่อว่า เกาะลังกาวี

เกาะลังกาวี หากไม่มีเรื่องราวของนางมัสสุหรีแล้ว เกาะแห่งนี้ก็คงเหมือนเกาะทั่วๆไป นางมัสสุหรีนั้นเป็นหญิงสาวผู้หนึ่งที่เกิดมีเหตุการณ์สำคัญทำให้นางเสียชีวิต บนเกาะลังกาวีแห่งนี้ พร้อมกับคำสาปแห่งการแสดงความบริสุทธิ์ คือ โลหิตสีขาวเหมือนยางพารา

การแลกกันระหว่างชีวิตและคำสาปแช่งเป็นบทพิสูจน์สุดท้ายที่นางพยายามดิ้นรนออกจากการถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมนั้น เป็นบทพิสูจน์ที่ทำให้เกาะลังกาวีได้ตกอยู่ในอำนาจของคำสาปที่จมอยู่ในความมืดดำเช่นเดียวกับ ชายหาดที่มีสีดำ นัยว่าเกาะแห่งนี้ถูกอำนาจแห่งความบริสุทธิ์นั้นสาปแช่งให้จมอยู่กับความตก ต่ำ เป็นอาถรรพ์ครอบคลุมมาถึง ๗ ชั่วอายุคน

บัดนี้เกาะลังกาวีได้ ผ่านพ้นมาแล้ว ๖ ชั่วอายุคน ดังนั้นในโอกาสวาระคนรุ่นที่ ๗ ซึ่งเป็นลูกหลานของนางมัสสุหรีได้มาถึง จึงเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับการแก้อาถรรพ์แห่งคำสาปเพื่อทำให้เกาะลังกาวีหลุด พ้นจากอำนาจลึกลับที่มาถึง ๖ ชั่วอายุคน สำหรับสุสานของนางมัสสุหรีนั้น มีสุสานที่สร้างด้วยหินอ่อนและคำจารึกภาษามาเลเซียและภาษาอังกฤษ ซึ่งจัดสร้างทำขึ้นภายหลัง มีข้อความว่า

MAHSURI BINTI PANDAK MAYAH
MAHSURI A VICTIM OF TREACHERY AND JEALOUSY WAS SENTENCED TO DEATH IN 1235 HIJRAH OR 1819 A.D. AS SHE DIED SHE LAID A CURSE ON THE ISLAND "''THERE SHALL BE NO PEACE AND PROSPERITY ON THIS ISLAND FOR A PEROID OF SEVEN GENERATIONS''


ข้อความจารึกนี้ แปลความได้ว่า

มัสสุหรีผู้รับเคราะห์กรรมจากการทรยศหักหลัง และความอิจฉาริษยาจนถูกตัดสินให้นางถึงแก่ความตายลง เมื่อศักราช (อิสลาม) ๑๒๓๕ หรือ คริสต์ศักราช ๑๘๑๙ (พ.ศ. ๒๓๖๒) นางสิ้นชีวิตลงพร้อมกับคำสาปแช่งที่แห่งนี้ว่า
''จะไม่เกิดสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองบนเกาะแห่งนี้ เป็นเวลา ๗ ชั่วอายุคน''


วันนี้ทายาทของนางมัสสุหรีได้สืบทอดเชื้อสายมาถึงรุ่นที่ ๗ ตามคำสาปแล้ว หลังจากเกาะลังกาวีได้รอคอยวันที่จะหลุดพ้นคำสาปของนางมาซูรีเมื่อพ.ศ. ๒๓๖๒ มาเป็นเวลา ๑๘๑ ปี แต่ประวัติศาสตร์ที่ไม่ควรลืมก็คือ เกาะลังกาวีแห่งนี้เป็นดินแดนของเมืองไทรบุรีที่ตั้งโดยชาวไทยที่ เป็นสยามอิสลาม (สามสาม) อยู่กับอาณาจักรสยามมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย?จนถึงรัชกาลที่ ๕ และเสียดินแดนส่วนนี้ให้กับอังกฤษในที่สุด คนไทยไม่เคยลืมดินแดนแห่งนี้เลย??

ตำนานเรื่องนางมัสสุหรี



ภาพวาดพระนางมัสซูหรีในจินตนาการ

?เกาะลังกาวี? เกาะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวมาเลย์ ว่ามีตำนานที่เล่าขานกันมา  ถึงเจ้าหญิงชายารัชทายาท ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วนามว่ามัสสุหรี ซึ่งเป็นหญิงคนไทย ลูกหลานชาวภูเก็ต

พ่อกับแม่พระนางมัสสุหรี มีอาชีพค้าขายทางเรือระหว่าง ภูเก็ตกับเกาะปีนัง จนกระทั่ง วันหนึ่งได้ตั้งท้อง และซินแซ ได้ทำนายทายทักว่า เด็กในท้องจะเป็นผู้หญิง ที่มีบุญยาธิการสูง เป็นคนดีที่เคารพแก่คนทั่วไป

พ่อและแม่ของพระนางฯ เชื่อในคำทำนายของซินแซ ประกอบกับการค้าขายที่ผ่านมา ไม่สามารถสร้างความร่ำรวย เหมือนคนอื่นๆเขา สาเหตุเพราะไม่มีเรือสำเภาเป็นของตนเอง ต้องอาศัยเช่าเรือคนอื่น ทำให้มีผลกำไรน้อยจนไม่สามารถทำให้ร่ำรวยขึ้นมาได้  อีกทั้งเด็กหญิงมัสสุหรีที่เกิดมา ก็น่ารักน่าชัง  พ่อและแม่ของพระนางมัสสุหรี จึงขายข้าวของทั้งบ้าน และที่ดินจนหมด เพื่อลงทุนซื้อเรือ และสินค้าไปขายที่เกาะปีนัง

แต่ที่สุด ขณะที่พระนางมัสสุหรี อายุได้ 7 ขวบ ระหว่างเดินเรือกลางทะเล เกิดพายุใหญ่ขึ้น ด้วยความเป็นห่วงลูก พ่อและแม่ได้เข้ามาโอบกอดกลัวลูกตกทะเล ทำให้ทิ้งการควบคุมใบเรือและหางเสือ ทำให้เรือล่มกลางทะเล ทุกคนตกลงสู่ทะเล  ด้วยความห่วงลูก จึงอธิฐานว่า หากเด็กคนนี้มีบุญยาธิการจริงก็ขอให้รอดพ้นจากการจมน้ำเถิด ทั้งสามแม่ลูกจึงรอดชีวิตอย่างปฏิหารย์ ไปติดที่เกาะแห่งหนึ่ง เกาะนั้นคือ ?ลังกาวี? ที่แปลว่า ?นกอินทรีย์สีน้ำตาล?

บนเกาะลังกาวีนั้น มีคนมาเลย์พื้นเมืองเดิม มีสุรต่านปกครองชาวประชาเหมือนรัฐอื่นๆในแถบคาบสมุทรมาลายู สามพ่อแม่ลูกจึงเดินทางเข้าไปก็ไม่ได้รับการต้อนรับจากชนพื้นเมืองนัก จึงเดินทางไปยังใจกลางเกาะซึ่งเป็นป่ารกทึบ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเรือนใกล้สุสานของพระนางมัสสุหรี) พ่อของพระนางฯจึงได้ตัดเอาไม้บริเวณสร้างกระท่อมเล็กๆ เพื่ออยู่อาศัย

จนกระทั้งเกิดวิกฤติ ภัยแล้งอย่างหนัก ทั่วทั้งเกาะ ไม่มีน้ำแม้แต่หยดเดียวบนเกาะแห่งนี้ ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว บ้างก็อพยพหนีไปที่อื่น เทือกสวนไร่นา สัตว์เลี้ยง เสียหายหมด ด้วยความเป็นเด็กฉลาด และได้ยินพ่อแม่เล่าให้ฟังอยู่เสมอว่า ตนเองเป็นเด็กที่มีบุญยาธิการ เด็กหญิงมัสสุรี จึงยกมือสองมือระดับหน้าอก ลักษณะเหนียดหรืออธิฐานจากพระเจ้า(ขอพรแบบอิสลาม) ว่า ?ได้โปรดเถิดพระเจ้า หากข้าพเจ้ามีบุญยาธิการจริงขอพระเจ้าได้ประธานแหล่งน้ำให้ข้าพเจ้าด้วย เถิด? ระหว่างอธิฐานก็ไปสะกิดก้อนกรวดหิน ทำให้พบตาน้ำไหลออกมา จึงรีบไปบอกพ่อและแม่ พ่อจึงลงมือขุดเป็นบ่อน้ำ และ เด็กหญิงมัสสุหรี ขอให้พ่อไปแจ้งให้ชาวบ้านทราบและ กล่าว่าทุกคนในเกาะนี้ สามารถมาตักน้ำไปดื่มกินได้เลย

ข่าวแพร่สะพัดไปทั่วเกาะ มีผู้คนมากมายเข้า ดื่มกินน้ำและนำกลับบ้าน โดยคุณสมบัติพิเศษของน้ำในบ่อแห่งนี้ เมื่อคนไข้นำไปดื่มกิน ก็จะหายจากโรคร้าย จึงลือกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ

พระนางมัสสุรีนั้น เป็นเด็กที่ขยัน เด็กที่ดีของพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้านงานเรือน ซื่อสัตย์ เชื่อฟังพ่อแม่ และที่สำคัญไม่เคยพูดโกหก  ทุกวันเมื่อพ่อแม่กลับมาถึงบ้าน มัสสุรีจะถือขันน้ำสำหรับพ่อ และแม่ดื่มเพื่อแก้กระหายในมือข้างขวา ส่วนมือข้างซ้ายมัสสุรีจะถือไม้เรียว สำหรับค่อยรายงานว่าตนเองทำผิดอะไร หรือพ่อจะลงโทษหากพ่อไปได้ยินใครเขาฟ้องอะไรพ่อ ซึ่งเป็นที่ร่ำลือของชาวบ้าน ยามใดที่มีคนยาก หรือขอทานผ่านมา มักจะชวนเข้าบ้าน พูดคุยด้วยโอภาปราสัย ให้ทาน เป็นน้ำ ข้าวปลาอาหารสม่ำเสมอ จนกระทั่งโตเป็นสาว ก็มีรูปสวย งามที่สุดบนเกาะลังกาวี 

จนในที่สุดความงามและความมีน้ำใจของหญิงไทยผู้นี้ ดังกระฉ่อนไปถึงหูของ"วันดารุส"โอรสของสุรต่านผู้ซึ่งปกครองเกาะลังกาวีแห่ง นี้ ด้วยความสนพระทัย วันดารุสจึงปลอมตัวเป็นขอทาน มาขอข้าวขอน้ำที่หน้าบ้านของพระนางมัสสุรี ก็เช่น พระนางฯก็ต้อนรับขับสู้ เอาน้ำ เอาข้าวปลามาให้สุรต่านในคราบขอทาน จึงเป็นที่พอพระทัยอย่างยิ่ง วันดารุสทำอย่างนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า จนทั้งสองเกิดความรักซึ่งกันและกัน โดยที่ พระนางมัสสุรี ไม่ล่วงรู้เลยว่า ผู้ชายที่ตนกำลังหลงรักอยู่นั้นคือ รัชทายาทผู้ปกครองเกาะลังกาวี

วันดารุสตัดสินใจบอกกับพระมารดา ว่า พบหญิงที่รัก หญิงที่ชอบ และคิดว่าเหมาะสมกับตนแล้ว อยากแต่งงานมีครอบครัวเสียที ขอวอนให้พระมารดาช่วยไปสู่ขอ พระมารดาดีใจมาก เพราะอยากให้ลูกเป็นฝั่งเป็นฝาเสียทีและพระมารดาได้ถามว่า "เธอคนนั้นเป็นลูกเต้าหรือเชื้อพระวงศ์ที่ไหน" วันดารุสเล่าความตามที่เตรียมไว้  และเมื่อพระมารดาทราบว่า เธอเป็นหญิงสาว ลูกชาวบ้าน แถมเป็นคนไทยที่อพยพมาจากภูเก็ต ไม่มีหัวนอนปลายเท้า พระมารดาก็ออกปากปฏิเสธทันที เพราะ เธอเป็นคนไทย หรือเพราะเหตุใด..

ในที่สุดเจ้าชายวันดารุส จึงใช้วิธี ยื่นคำขาดกับพระมารดา โดยหากพระมารดาไม่ดำเนินการไปสู่ขอพระนางมัสสุรีตามความต้องการของตน (หลักศาสนาอิสลามผู้ปกครองต้องเป็นผู้สู่ขอให้) มิเช่นนั้น ตนจะปลิดชีพตนเอง 

พระมารดาด้วยความรักลูก กลัวลูกชายจะฆ่าตัวตาย จึงยินยอมไปสู่ขอพระนางมัสสุรีแต่โดยดี แต่ในใจนั้น ผูกพยาบาทโกรธพระนางมัสสุหรียิ่งนัก  จึงคิดหวังจะกำจัดพระนางฯเมื่อสบโอกาส

พิธีอภิเษกสมรสเกิดขึ้นท่ามกลางความชื่นชมของชาวเกาะลังกาวี เพราะมีว่าที่พระมเหสีที่สวย และมีน้ำใจ เป็นที่ที่รักของคนทั่วไป ยกเว้นพระมารดา ที่คอยกลั่นแกล้งเสมอ เมื่อวันดารุสไม่อยู่ในวัง ใช้ทำงานสารพัดเพื่อให้สาสมกลับที่แย่งความรักจากวันดารุสไปจากตน

จนกระทั่งพระนางมัสสุรีตั้งครรค์ และคลอดบุตรเป็นชาย วันดารุสดีใจมากที่มีราชทายาทกับพระนางมัสสุรี พร้อมตั้งชื่อว่า ?วันฮาเก็ม?

?วันฮาเก็ม?คลอดได้เพียง 3 วัน วันดารุสก็ต้องลาไปออกศึก เพราะขณะนั้นเกิดศึกสงครามจากการขยายอำนาจของสยาม เพราะเกาะลังกาวีส่วนหนึ่งของของไทรบุรีประเทศราชของสยาม วันดารุสจึงต้องจัดทัพไปออกศึกในครั้งนั้นด้วย

ก่อนไป ด้วยความความรักและห่วงใยภรรยาที่กำลังตั้งท้อง วันดารุสจึงได้มอบหมายให้องค์รักษ์คู่ใจ มีฝีมือ และเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ให้มาช่วยรับใช้ พระนางมัสสุรี ระหว่างที่ตนไม่อยู่ โดยประกาศไว้ว่า หากใครกล้าแตะต้องพระนางมัสสุรีกับุตรชาย หรือขัดขวางการทำหน้าที่ขององครักษ์พระนางฯ ผู้นั้นมี โทษประหารสถานเดียว ไม่มีข้อยกเว้น แล้วจึงออกเรือเดินทัพไปร่วมศึกในครั้งนั้น

(อ่านต่อ)





ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3726

ด้วยความเกลียดชัง และอิจฉาริษยาของพระมารดา ทันทีที่วันดารุส ออกเรือ พระมารดาจึงประกาศสั่งให้ข้าทาสบริวารในวังทั้งหมด หยุดทำงาน และสั่งให้พระนางมัสสุหรีทำแต่ผู้เดียวทั้งหมด

ทางด้านพระนางมัสสุหรี แทนที่จะต่อต้าน เพราะเป็นถึงพระมเหสี ด้วยความรักในสามี จึงยอมทำตามคำสั่งของพระมารดาแต่โดยดี แม้องครักษ์จะทัดทาน หรือขออาสาทำงานทุกอย่างแทน ด้วยใจหวังไว้ว่า สักวันความดีจะชนะใจแม่สามีได้

จนกระทั่งฝ่ายองครักษ์ทนดูไม่ได้ จึงก้มลงกราบแทบเท้าพระนาง จะไม่ยอมลุกขึ้น หากพระนางมัสสุรีไม่ยอมให้ช่วยทำงานแทน พระนางฯจึงยินยอมในที่สุด

ฝ่ายพระมารดาโกรธมาก เมื่อทราบถึงการเข้าช่วยเหลือขององครักษ์ จึงเห็นต้องกำจักทั้งสองคน โดยได้สั่งให้บริวารไปเฝ้าดูเพื่อจับผิด และหาเรื่องใส่ร้ายพระนามมัสสุหรีให้จงได้

นกระทั่ง วันหนึ่งก็มาถึง พระนางมัสสุหรี เอาผ้าคลุมฮิญาบหรือผ้าคลุมศรีษะ ยื่นให้องครักษ์เช็ดหน้าเช็ดตา ในขณะที่กำลังตรากตรำทำงานหนัก และบริวารสายสืบของพระมารดาเห็นเข้า จึงนำเรื่องนี้ไปรายงานพระมารดา ซึ่งดีใจมาก พร้อมสั่งให้ทหารไปจับคนทั้งสองและป่าวประกาศไปทั่วเกาะ ว่า พระนามมัสสุรีมีชู้กับองครักษ์ ทำให้เสื่อมเสียงพระเกียรติแก่ราชวงศ์มีโทษประหารด้วยกริช ห้ามใครพูดเข้าข้างพระนางมัสสุรี มิเช่นนั้นจะประหารทันที ส่วนองครักษ์นั้นได้ถูกสั่งประหารด้วยการขุดหลุม แล้วให้ลงไปนอน เอาก้อนหินกระหน่ำปาลงไปจนตาย

พระนางมัสสุหรีถูกนำตัวมามัดไว้กับต้นไม้ต้นหนึ่ง เพชฌฆาตนั้นเมื่อเริ่มลงมือเอากริชแทงพระนางหลายครั้งด้วยน้ำตา แต่กริชไม่สามารถระคายผิว พระนางฯได้เลย พระนางฯจึงกล่าวว่า "กริชประจำตระกูลของพระนางฯเท่านั้นถึงจะฆ่าพระนางได้ และกริชนั่นก็อยู่ที่ บ้านพ่อแม่ของข้าเอง" พระมารดาได้ยินดังนั้นจึงสั่งให้เพชฌฆาตไปเอากริช ประจำตระกูลของพระนางฯ ตามที่พระนางฯบอก

ทางด้านพ่อและแม่ของพระนางฯ เมื่อมีคนของพระมารดาไปขอกริชประจำตระกูล ก็ให้แต่โดยดี ด้วยเพราะทราบดีว่า คงเป็นความประสงค์ของพระนางมัสสุรี ที่จะกู้ศักดิศรี และแสดงความบริสุทธิ์ แม้จะแลกด้วยชีวิตก็ตาม   



สุสานพระนางมัสสุหรี

ก่อนที่เพชฌฆาตจะลงมือประหาร พระนางมัสสุหรีจึงกล่าวดังไว้ว่า ช้าดินเป็นพยานข้านี้ถูกใส่ร้าย ข้ามิเคยคบชู้สู่ชายแต่อย่างใด หากข้าไม่ผิด ของให้โลหิตเป็นสีขาว และอย่าให้หิตข้าหลั่งลงพื้นดิน ฟ้าดินเป็นพยาน สิ้นคำกล่าวของพระนางฯ เพชฌฆาตก็ลงมือปักกริช ลงตรงคอ เสียงร้องของพระนางดังไปทั่วบริเวณ เลือดสีขาวพระนางฯพุ่งขึ้น เหมือนร่ม โดยไม่ตกลงพื้นแม้แต่หยดเดียว หันไปมองบุตรตัวน้อยวัยสามเดือน ที่ร้องเสียงดัง เหมือนรับรู้ความเจ็บปวดของแม่ 

ก่อนสิ้นใจพระนางฯได้อ้อนวอนขอกอดลูก และขอให้นมบุตรเป็นครั้งสุดท้ายต่อพระมารดาแม่ผัวผู้ใจดำ แต่พระมารดาฯไม่ยินยอม  พระนางฯจึงสาปแช่งว่า  ?หากนางเป็นผู้บริสุทธิ์ มันผู้ใดที่อยู่บนเกาะลังกาวีจงประสบทุกข์เข็ญนานตราบ 7 ชั่วอายุคน? และบอกพ่อกับแม่ของตนให้เอากล้วยน้ำหว้าป้อนลูกของตนแทนนม แล้วจึงสิ้นใจ

ทาง ด้านวันดารุส ขณะอยู่กลางท้องทะเล ก็นิมิตเห็นภาพพระนางมัสสุหรี เหมือนมาลา จึงประกาศ ?หากใครทำอันตรายพระนางมัสสุหรี จะฆ่าตายให้หมด" พร้อมกับเดินทางกลับทันที

เมื่อมาถึงเกาะ สภาพเกาะเหมือนเกาะร้าง แทนที่จะมีเสียงประชาชนเข้ามาล้อม โฮ่ร้องต้อนรับ เหมือนวีรบุรุษ เช่นทุกครั้ง แต่กลับเงียบเชียบเหมือนเมืองร้าง ผู้คนไม่รู้หายไปไหนหมด เมื่อกลับไปที่วัง ร้องหาแม่นางมัสสุรีและลูกไม่พบ ก็ใจหาย จึงไปหาที่บ้านพ่อตาแม่ยาย เมื่อย่างก้าวเข้าบริเวณบ้าน  ความรู้สึกเศร้าระงมไปทั่ว แต่ก็กลับดีใจ ที่ได้ยินร้องของเด็ก เมื่อขึ้นไปดู จึงเห็นแต่ลูก และทราบข่าวการตายของพระแม่นางมัสสุรี จากพ่อตาและแม่ยาย

วันดารุสเสียใจมาก เพราะคิดไม่ถึงว่า พระมารดาจะฆ่าและทำลายพระนางมัสสุหรี คนที่ตนรักได้อย่างโหดเหี้ยมได้ลงคอ พระองค์จึงตัดสินใจสละสิทธิ์รัชทายาทราชบันลังก์ แล้วหอบลูกและกริช กลับไปยังบ้านเกิดของพระนางมัสสุหรี คือภูเก็ต






หาดทรายสีดำบนเกาะลังกาวีซึ่งค่อยๆเลือนไปจากการแก้คำสาป

ส่วนพระมารดาเมื่อสิ้นชีวิต พระศพก็ไม่สามารถฝั่งที่ใดได้เลย บนเกาะลังกาวี ฝังที่ใดทรายก็จะดันขึ้นมาเสมอ จนกระทั่ง ต้องไปกลับทำพิธีบนบานที่สุสานพระนางมัสสุหรี จึงสามารถนำพระศพไปฝั่งไว้ที่บริเวณหาดทราย และสีของหาดทรายกลายเป็นสีดำในทันที หลังจากที่ฝั่งเสร็จ....ทั้งหมดนี่คือตำนานในอดีตของพระนางมัสสุหรีนั่นเองล

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อสายของพระนางมาซูรีแห่งเกาะลังกาวี

ต้น สกุล วัน ดารุส [WAN DARUS> ได้แต่งงานกับ มัสสุหรี คนไทยที่มีเชื้อสายคนไทยสมัยสุโขทัยที่เข้ามาตั้งเมืองไทรบุรี หรือ สยามอิสลาม ที่ชาวมลายูเรียกว่า "สามสาม" นางมัสสุหรีถูกฆ่าตายเมื่อ พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ วัน ดาเกม หรือ โต๊ะเกม ที่ถูกพามาอยู่ที่เมืองถลางหลังจากเกิดการฆ่าประหารกันบนเกาะลังกาวี

1, เชื้อสายรุ่นที่ 1

1. วัน ดาเกม (วัน อาเกม) หรือโต๊ะเกม (ชาย) อพยพมาอยู่ที่เมืองถลาง แต่งงานกับ อาลี ฉะ มีบุตร 6 คน (ชาย 2 หญิง 4 คน) คือ
1.1 โต๊ะเภา (ชาย)
1.2 นางสำหมี (หญิง) แต่งกับคนในตระกูลสาริยา
1.3 ไม่ทราบชื่อ (หญิง) แต่งกับคนในตระกูลยาหยี
1.4 ไม่ทราบชื่อ (หญิง)
1.5 ไม่ทราบชื่อ (หญิง)
1.6 ไม่ทราบชื่อ (ชาย)
ทายาท ที่สืบเชื้อสายจากบุตรชาย 2 คนนั้นถือเป็นสายตรงจาก วัน ดาเกมหรือโต๊ะเกม นั้นคือบุตรชาย 2 คนได้แก่ โต๊ะเภาและบุตรชายอีกคนหนึ่ง ไม่ทราบว่ายังใช้ "วัน" [WAN> เป็นชื่อสกุลอยู่หรือไม่
ทายาทที่สืบเชื้อสายจากบุตรหญิง 4 คนได้แต่งงานกับคนในตระกูลอื่น ถือเป็นสายสัมพันธ์ที่แยกสาขาครั้งแรกเป็น 4 ตระกูล ที่ปรากฎชื่อคือ สกุล ยาหยี สาริยา ต่อมามีลูกหลานออกไปสัมพันธ์กับสกุลอื่นอีกจึงมีสาขาแยกออกไปอีกได้แก่ ยัสสิน จำปาดะ อังศิริกุล เป็นต้น

2.เชื้อสายรุ่นที่ 2

2.1 โต๊ะเภา (วัน โต๊ะเภา)
2.2 นางสำหมี แต่งงานกับคนในตระกูล สาริยา มีบุตรคือ นางเสาดะ สาริยา
2.3 หญิง ไม่ทราบชื่อ แต่งงานกับคนในตระกูล ยาหยี มีบุตรชื่อ โต๊ะเหม ยาหยี

3.เชื้อสายรุ่นที่ 3

3.1 นางเสาดะ สาริยา ต่อมาแต่งงานกับคนในตระกูล จำปาดะ (นายตอเหยบ จำปาดะ)
(ติดต่อที่ 77/1 หมู่ 3 ต.กมลา อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต) มีบุตรชื่อนางมะสุหรี หรือ มสุรรี จำปาดะ
3.2 โต๊ะเหม ยาหยี มีบุตรชื่อ นายเฉลิม ยาหยี

4.เชื้อสายรุ่นที่ 4

4.1 นางมะสุหรี หรือ มสุรรี จำปาดะ แต่งงานกับคนในสกุล อังศิริกุล (ติดต่อที่ เนินตองรี
สอร์ท ต.ป่าตอง อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต)
4.2 นายเฉลิม ยาหยี

5.เชื้อสายรุ่นที่ 5

5.1 นายอิสเมล ยัสสิน [ISMAIL YASSIN>
5.2 นายเฉน ยาหยี มีบุตรชื่อ นายสุวรรณ ยาหยี (ติดต่อที่ 38/1 หมู่ 2 ต.กมลา อ.ถลาง จ.ภูเก็ต)

6.เชื้อสายรุ่นที่ 6
6.1 นายสุวรรณ ยาหยี แต่งงานกับนางสุณี มีบุตรชื่อ ด.ญ.ศิรินทรา (อาลีฉะ) ยาหยี



เธอผู้นี้คือ นางสาว ศิรินทรา ยาหยี หรือ เมย์
บุตรสาวของ สุวรรณ ยาหยี ผู้พ่อซึ่งมีอาชีพรับจ้างขับรถในหาดป่าตอง และสุนี ยาหยี ผู้แม่ ซึ่งเป็นแม่บ้าน
เธอมีน้องชายอีก 1 คน อายุ 16 ปี
ผู้ที่แก้คำสาปอาถรรพ์ที่มีมา 7 ชั่วโคตร แห่งเกาะลังกาวี



ที่มา  : 
http://www.oknation.net/blog/localbetong/2010/07/31/entry-2
http://www.oknation.net/blog/localbetong/2010/08/01/entry-2