ผู้เขียน หัวข้อ: แนวคิดเป็นของ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์  (อ่าน 3566 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3834
เมื่อ: สิงหาคม 12, 2015, 04:35:52 PM
?การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข?

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา

แนวคิด"คิดเป็น" ของ ดร. โกวิท วรพิพัฒน์

ดร.โกวิท วรพิพัฒน์และคณะ ได้ประยุกต์แนวความคิดในเรื่อง?คิดเป็น? และนำมาเป็นเป้าหมายสำคัญในการให้บริการการศึกษาผู้ใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมาดดยมีหลักการที่เป็นหัวใจสำคัญดังนี้ การวิเคราะห์ปัญหาและแสวงหาคำตอบหรือทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา คิดอย่างรอบคอบโดยอาศัยข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคม สิ่งแวดล้อมและข้อมูลทางวิชาการประกอบการตัดสินใจ แก้ปัญหาหรือหาทางเลือกเพื่อนำไปปฏิบัติ รู้จักคิดเพื่อแก้ปัญหา ด้วยการกระทำการอย่างเหมาะสมและพอดี

จากหลักการดังที่กล่าวมา พอจะสรูปความหมายของคำว่า คิดเป็น ดังนี้

"คิดเป็น" หมายถึง กระบวนการที่คนเรานำมาใช้ในการตัดสินใจ โดยต้องแสวงหาข้อมูลของตนเอง ข้อมูลของสภาพแวดล้อมในชุมชนและสังคม และข้อมูลทางหลักวิชาการ แล้วนำมาวิเคราะห์หาทางเลือกในการตัดสินใจที่เหมาะสม มีความพอดีระหว่างตนเองและสังคม

เมื่อครั้งดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้ากองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา (ระหว่างปี พ.ศ.2511-2518) ท่านได้ริเริ่มโครงการการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ (Functional Literacy) แบบไทย มุ่งให้ผู้เข้ารับการศึกษาระดับชาวบ้านได้รู้จักคิดแก้ไขปัญหา ให้สอดคล้องกับสภาพสถานะของตน และของกลุ่มที่เรียกว่า "คิดเป็น" โดยมีหลักการว่า เรียนแล้วสามารถนำข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลข้อจำกัดส่วนตัวของแต่ละบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับสังคม มาประมวลแล้วคิดหาคำตอบให้กับปัญหาของแต่ละคนหรือสังคม ซึ่งจะได้คำตอบที่หลากหลายและตรงกับสภาพของแต่ละบุคคลหรือสังคม ไม่ใช่ว่าหนังสือบอกไว้อย่างไรแล้วต้องทำตามเหมือนกันหมด คิดเองไม่เป็น แต่ถ้าคิดเป็นแล้วคำถามหรือปัญหาเดียวกันอาจได้คำตอบไม่เหมือนกันก็เป็นได้

ผลสำเร็จของโครงการ "คิดเป็น" ทำให้ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ได้รับเชิญจากองค์การยูเนสโกให้ไปเสนอผลงานดังกล่าว ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ อย่างมาก จนองค์การยูเนสโกนำเรื่องนี้ ไปเผยแพร่ทั่วโลก ทำให้ ดร.โกวิทได้รับฉายาจากต่างประเทศว่า "นายคิดเป็น" (Mr.Khit Pen)

ที่มา : http://northnfe.blogspot.com/2012/07/blog-post.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 04, 2015, 10:13:01 PM โดย เลิศชาย ปานมุข »