ผู้เขียน หัวข้อ: จิตพิสัย Affective Domain  (อ่าน 2730 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3740
เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 12:12:18 AM

ธรรมชาติของคุณลักษณะด้านจิตพิสัย

จิตพิสัยเป็นอารมณ์ หรือ ความรู้สึกของแต่ละบุคคล ที่ได้แสดงออกมา ทั้งด้านการกระทำ การแสดงความคิดเห็น และอื่น ๆ โดยมีธรรมชาติที่แสดงถึง คุณลักษณะสำคัญ 5 ประการ (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2539, หน้า 9 - 11) ดังนี้

1. เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ หรือความรู้สึก ซึ่งมีอยู่ในทุก ๆ คน และ อาจเปลี่ยนแปลงได้ ตามเงื่อนไข และ สถานการณ์แวดล้อม บุคคลอาจแสดงออกให้เห็นได้ ทั้งใน รูปแบบของธรรมชาติ หรือ ในรูปแบบของ การเสแสร้ง ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม ในช่วงเวลา ของการแสดงออก และ เจตนา ที่แสดงออกมาอย่างจริงใจเท่านั้น

2. เป็นคุณลักษณะที่มีลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล บุคคลอาจมีความรู้สึกเหมือนกัน แต่มีพฤติกรรมแสดงออก แตกต่างกัน หรือในบางครั้งอาจแสดงพฤติกรรมเหมือนกัน แต่ความรู้สึก อาจแตกต่างกันได้ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่อาจตัดสินใจได้ว่า พฤติกรรมที่แสดงออกของบุคคล ในสถานการณ์หนึ่งว่าถูกหรือผิด เหมือน การตัดสินด้าน ความรู้ความคิด นอกจากจะตัดสินโดยใช้ เกณฑ์มาตรฐานของกลุ่มสังคม ที่บุคคลนั้นเป็นสมาชิกอยู่ เพื่อหาข้อสรุปอ อกมาว่า พฤติกรรมที่ บุคคลแสดงออก ในสถานการณ์นั้นเป็นที่พึงปรารถนาของสังคมนั้น ๆ หรือไม่เท่านั้น และเมื่อ สังคม เปลี่ยนไปหรือ ต่างสังคม กับ เกณฑ์ปกติ หรือมาตรฐานย่อมเปลี่ยนไป ผลการตัดสินว่าเป็น ที่พึงปรารถนา หรือไม่ก็อาจเปลี่ยนไป ได้เช่นกัน

3. เป็นคุณลักษณะที่มีทิศทางของ การแสดงออก ได้สองทาง คือ ตรงข้ามกัน เช่น ขยัน - ขี้เกียจ ซื่อสัตย์ - คดโกง รัก - เกลียด หรือ อาจจะเรียกกันง่าย ๆ ว่าทิศทางบวกหรือลบ โดยทั่วไปแล้ว ทิศทางบวก จะเป็นที่ พึงปรารถนา มากกว่า ทิศทางลบ ทิศทางบวกดังกล่าว ได้แก่ รัก ชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ แต่บางครั้งทิศทางลบ ก็อาจจะใช้ได้ ในสิ่งที่ไม่ พึงปรารถนาของสังคม เช่น เกลียดอบายมุข ไม่ชอบความสกปรก รังเกียจยาเสพติด เป็นต้น

4. เป็นคุณลักษณะที่มีระดับ ปริมาณ ความเข้มที่อาจเปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างกันได้ เช่น รัก จะมีรักมาก รักน้อย ขยัน ก็จะขยันมาก ขยันน้อย ดังนั้น แม้บุคคล 2 คน จะมีความรู้สึก หรืออารมณ์ขณะใดขณะหนึ่ง หรือลักษณะ ประจำตัว เช่นเดียวกัน ก็อาจแตกต่างกันในความเข้ม ของความรู้สึกได้ เช่น ความรู้สึกของแดง และดำ ที่มีต่อโรงเรียนของเขา อาจจะมีระดับ หรือ ความเข้มต่างกัน

5. เป็นคุณลักษณะที่มีเป้าหมาย กล่าวคือ บุคคลจะเกิดความรู้สึก หรืออารมณ์ขึ้นมาลอย ๆ ไม่ได้ จะต้องเกิดอารมณ์ หรือความรู้สึก ต่อเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของเหตุการณ์ กระบวนการ หลักการ วิชา หรือสภาวะใด ๆ ก็ได้ เช่น ขยันทำงานบ้าน ขยันเรียน ขี้เกียจอ่านหนังสือ เป็นต้น และเมื่อเปลี่ยนเป้าหมายแล้ว ความรู้สึก หรืออารมณ์ อาจ เปลี่ยนแปลงได้ทั้ง ทิศทาง และความเข้ม เช่น นายแดงมีความรู้สึกชอบนายดำมาก แต่เมื่อเปลี่ยนเป้า เป็นนายเขียว ความรู้สึกของนายแดง ต่อนายเขียว อาจจะเปลี่ยนจากชอบมากเป็นชอบน้อย หรือไม่ชอบเลยก็ได้

สรุปได้ว่า จิตพิสัย เกี่ยวข้องกับ อารมณ์ หรือ ความรู้สึก ที่มีอยู่ในทุก ๆ คน แต่ละคน จะมีแบบแผนเฉพาะตัว ความรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต้องมีทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านบวก หรือ ที่พึ่งปรารถนา และด้านลบ หรือไม่พึ่งปรารถนา มีความเข้ม กล่าวคือ มีระดับของความรู้สึก ต่อสิ่งนั้น เช่น ชอบมาก - ชอบน้อย เป็นต้น

ที่มา :