เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความดีดี คำคม ข้อคิดในการดำเนินชีวิต
รู้จักกฎ 4 ข้อ เพื่อเปลี่ยนนิสัย จากหนังสือขายดี Atomic Habits
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: รู้จักกฎ 4 ข้อ เพื่อเปลี่ยนนิสัย จากหนังสือขายดี Atomic Habits (อ่าน 1426 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3893
รู้จักกฎ 4 ข้อ เพื่อเปลี่ยนนิสัย จากหนังสือขายดี Atomic Habits
เมื่อ:
ธันวาคม 10, 2023, 01:14:02 AM
รู้จักกฎ 4 ข้อ เพื่อเปลี่ยนนิสัย จากหนังสือขายดี Atomic Habits
.
.
‘Atomic Habits เพราะชีวิตดีได้กว่าที่เป็น’ หนังสือขายดีที่แนะนำโดย The New York Times เขียนโดยเจมส์ เคลียร์ (James Clear)
.
หนังสือเล่มนี้มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากถึง 59 ภาษา และได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เนื่องจากอ้างอิงหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการนำเสนอวิธีเปลี่ยนแปลงนิสัยของตัวเอง โดยเริ่มจากเรื่องเล็กๆ ก่อนพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
.
สำหรับใครที่ยังไม่มีเวลาอ่านทั้งเล่ม และอยากได้คำตอบว่า “แล้วฉันจะเปลี่ยนตัวเองอย่างไร” Future Trends ขอสรุปเนื้อหามาเป็นกฎ 4 ข้อ สู่การสร้าง “พฤติกรรมใหม่” โดยอ้างอิงข้อมูลจากผู้เขียนหนังสือเล่มนี้
.
.
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในหนังสือของ James Clear คือ เขาบอกว่า เราไม่อาจแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้จากการตั้งเป้าหมายเพียงอย่างเดียว
.
การตั้งเป้าหมาย เป็นเพียงวิธีแก้ปัญหาแบบครั้งเดียวจบ
.
ลองนึกอย่างนี้ หากคุณมีปัญหาคือห้องรก ไม่เป็นระเบียบเอาเสียเลย เลยตัดสินใจว่า “ฉันจะจัดการเก็บห้องให้เรียบร้อย” แล้วใช้วันหยุดอันมีค่าทั้งวันไปกับการปัด กวาด เช็ด ถู จัดระเบียบจนเรียบร้อย
.
ฟังดูน่าพอใจ แต่คำถามคือ แล้วเมื่อไหร่ที่มันจะกลับมารกอีก
.
วิธีแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ไม่ใช่การเก็บห้องให้เรียบร้อย แต่คือการเปลี่ยนนิสัยตัวเองเพื่อไม่ทำให้ห้องรกอีก
.
ฟังดูยากใช่ไหม?
.
แต่นี่คือเหตุผลที่อยากเล่าถึงกฎ 4 ข้อในการสร้าง “พฤติกรรมใหม่” เพราะมันไม่เพียงช่วยให้สามารถสร้างนิสัยใหม่ได้ง่ายขึ้น แต่ยังช่วยให้วางขั้นตอน (Outline) ในการสร้างนิสัยใหม่ให้ตัวเองได้ด้วย
.
.
[กฎ 4 ข้อสู่การสร้าง New Habit]
.
เงื่อนไขง่ายๆ ในการสร้างนิสัยใหม่ให้ตัวเองของ James Clear คือ พฤติกรรมที่เราต้องการนั้น ควรเป็นสิ่งที่เราพอใจกับมัน และกลับกัน หากมันดูไม่น่าพอใจ ดูเป็นเรื่องยาก ตัวคุณเองคือคนที่ต้องออกแบบให้เป็นเรื่องง่าย และพอใจที่จะทำ
.
มาดูกฎ 4 ข้อที่ว่านี้ไปด้วยกัน
.
1. ทำให้ชัดเจน (make it obvious)
.
กฎข้อแรก คือการสร้างตัวกระตุ้นให้กับคุณเอง เป็นการบอกตัวเองอย่างชัดเจนว่า ฉันต้องทำมัน เช่นหากคุณอยากตื่นไปวิ่งตอนเช้า ให้เริ่มเอาเสื้อกีฬาออกมาแขวนไว้ในจุดที่ตื่นมาแล้วเห็นได้เลย ด้วยวิธีนี้คุณจะมีสิ่งที่คอยเตือนทันทีที่ตื่นว่า คุณจะออกไปวิ่ง
.
2. ทำให้น่าดึงดูด (make it attractive)
.
วิธีนี้คือการทำให้สิ่งที่อยากทำน่าดึงดูดใจ น่าสนใจที่จะทำ เช่น ต่อเนื่องจากข้อก่อนหน้าเรื่องการวิ่งตอนเช้า ลองติดตามคนที่วิ่งเป็นประจำที่ทำให้รู้สึกว่า การวิ่งน่าสนใจ (เช่น ผมเองมีไอดอลในการวิ่งคือ ฮารูกิ มูราคามิ หลังจากได้อ่าน What I Talk about when I talk about running) หรือสำหรับพฤติกรรมอื่นๆ คุณอาจติดตามคนที่ทำสิ่งนั้นอยู่แล้วเพื่อเป็นต้นแบบ
.
3. ทำให้มันง่าย (make it easy)
.
สิ่งสำคัญคือทำให้สิ่งที่อยากทำเป็นเรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลยที่ต้องวิ่ง 5K ตั้งแต่ออกวิ่งวันแรก ไม่จำเป็นเลยด้วยซ้ำว่า คุณจะวิ่งได้ตลอดโดยไม่หยุดเดิน พฤติกรรมที่ยาก ทำให้ไม่อยากทำ ดังนั้นพยายามออกแบบพฤติกรรมใหม่ด้วยเรื่องง่ายๆ ก่อน และหากต้องการจึงค่อยยกระดับขึ้นไปเรื่อยๆ
.
4. ทำให้น่าพึงพอใจ (make it satisfying)
.
การทำให้พฤติกรรมน่าพึงพอใจ คือการให้รางวัลตัวเอง (Reward) ควบคู่ไปกับการทำสิ่งนั้น สิ่งนี้เชื่อมโยงกับอีกหนึ่งเทคนิค คือการเชื่อมพฤติกรรม (Habit Pairing) เป็นเทคนิคที่ทำให้พฤติกรรมใหม่เป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ ด้วยการจับคู่กับพฤติกรรมอื่นที่ชอบ เช่น การฟังเพลงที่ชอบระหว่างวิ่ง จะช่วยให้การวิ่งสนุกขึ้น
.
อีกวิธีของการจับคู่ง่ายๆ คือการเอาสิ่งที่ชอบมาอยู่คู่กับสิ่งที่จะทำ เช่น อยากอ่านหนังสือมากขึ้น หากเป็นคนชอบดื่มกาแฟยามเช้า ลองนำการอ่านหนังสือมาจับคู่กับการดื่มกาแฟ สิ่งนี้จะช่วยให้รู้สึกว่าการอ่านเป็นกิจกรรมที่น่าพึงพอใจในยามเช้าของคุณ
.
.
ทั้งหมดนี้คือกฎ 4 ข้อ สู่การสร้างพฤติกรรมใหม่ ที่จะช่วยให้การเปลี่ยนนิสัยเป็นเรื่องที่ง่ายและน่าทำ
.
หวังว่าเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคน
.
เขียนโดย Siravich Singhapon
.
ที่มา เพจ FutureTrends
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความดีดี คำคม ข้อคิดในการดำเนินชีวิต
รู้จักกฎ 4 ข้อ เพื่อเปลี่ยนนิสัย จากหนังสือขายดี Atomic Habits
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?