เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
ทำความรู้จัก Active Learning หัวใจสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: ทำความรู้จัก Active Learning หัวใจสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ (อ่าน 2347 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3925
ทำความรู้จัก Active Learning หัวใจสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ
เมื่อ:
มีนาคม 28, 2023, 12:25:09 AM
เมื่อพูดถึงหลักสูตรฐานสมรรถนะ หนึ่งในสิ่งสำคัญที่คงไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือหลักการ Active Learning ที่ถือเป็นหนึ่งหัวใจสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน หากไม่มีองค์ประกอบการสอนอย่าง Active Learning แล้ว การสอนสมรรถนะของเด็ก ๆ ก็อาจจะแทบเป็นไปไม่ได้เลย แต่ Active Learning คืออะไร ห้องเรียนแบบไหนคือห้องเรียน Active Learning วันนี้ Starfish Labz มีคำตอบค่ะ
Active Learning คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียน
Active Learning หรือในภาษาไทยคือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติในนิยามอย่างเรียบง่ายแต่ชัดเจนที่สุดแล้วก็คือ การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติ ผู้เรียนไม่ใช่แค่รับสารเฉย ๆ แต่ยังลงมือทำ (Active) ซึ่ง “การลงมือทำ” ดังกล่าว จะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ และการออกแบบของคุณครู ส่วนใหญ่แล้วการลงมือทำดังกล่าวก็จะอยู่ในรูปของกิจกรรมในห้องเรียน นอกห้องเรียน จนถึงการทัศนศึกษา สเกลของกิจกรรมจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ การออกแบบ การตัดสินใจของคุณครู ความเหมาะสม และมีการวัดผลความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในบริบทของหลักสูตรฐานสมรรถนะ วัตถุประสงค์หลัก ๆ ส่วนใหญ่ก็คือการสอนให้เด็กมีสรรถนะหนึ่ง ๆ ผ่านการเรียนรู้อย่าง Active คือมีกิจกรรมให้เขาได้ทำ ให้เขามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่จะทำให้คุณครูสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเด็ก ๆ เริ่มมีพัฒนาการในสมรรถนะดังกล่าวแล้วหรือยัง เพราะการเรียนรู้เชิงสมรรถนะนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของความเข้าใจเนื้อหาในการเรียนแบบเดิม ๆ ทั่ว ๆ ไป แต่คือการช่วยฝึกให้ เด็กมีทักษะ มีการซึมซับ และเติบโตจริง ๆ หากห้องเรียนไม่มีองค์ประกอบของ Active Learning แล้ว หรือพูดอย่างง่ายที่สุดก็คือปฏิสัมพันธ์และการตอบกลับ (Response) จากผู้เรียน ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณครูจะประเมินได้ว่าสิ่งที่ได้สอนไป เด็ก ๆ รับรู้ เข้าใจ และที่สำคัญคือ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึมซับใดๆ ในตัวเด็กหรือไม่ การสอนแบบ Active Learning นัยหนึ่งแล้วจึงเป็นทั้ง การประเมินความเข้าใจของเด็ก และการฝึกให้เขาลงมือทำอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดการพัฒนาของทักษะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่อาจจะเข้าใจเฉย ๆ แล้วก็ลืมอย่างในรูปแบบการสอนเดิม ๆ
ลักษณะและบรรยากาศของห้องเรียน Active Learning
โรงเรียน สถาบัน และคุณครูแต่ละคนก็อาจจะมีแนวทางในการพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียนและสร้างห้องเรียน Active Learning ของตัวเองอย่างหลากหลายแต่โดยทั่วไปแล้วบรรยากาศสำคัญๆที่ควรมีในห้องเรียน Active Learning ก็คือ
1.เด็กๆ มีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้คุณครูมีกิจกรรมต่างๆ รวมถึงมีการสอนที่ยึดเด็กๆ เป็นศูนย์กลาง[
2.บรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน เด็กๆ ทุกคนควรได้รับโอกาสและค่อยๆ กระตุ้นให้มีส่วนร่วมอย่างเท่าๆ กัน ไม่บังคับ ไม่กดดัน แต่เป็นการค่อยๆ เชิญชวนให้เขามีส่วนร่วมเข้าใจธรรมชาติการมีส่วนร่วมของเด็กแต่ละคน
3.มีการตั้งวัตถุประสงค์และการวัดผลอย่างชัดเจนเรียนในวันนี้ พร้อมกิจกรรมเหล่านี้เด็กๆ จะได้อะไร อะไรคือวัตถุประสงค์ของการเรียนในวันนี้เมื่อเรียนเสร็จแล้วกิจกรรมจบแล้วมองเห็นการเปลี่ยนแปลง หรือแววการพัฒนาใดๆ ได้ไหมเด็กๆ บางคนอาจมีแววมีการพัฒนาแล้วเด็กคนอื่นๆ ที่ยังไม่มีจะสามารถช่วยเสริมช่วยเขาเพิ่มเติมหรือสอบถามถึงอุปสรรคของเขาอย่างไร
ตัวอย่างเทคนิคการสอนแบบ Active Learning สำหรับคุณครู
1. การระดมสมอง (Brainstorming)
เปิดโอกาสให้เด็กๆ ใช้เวลากับตัวเองกับเพื่อนในห้องทบทวนและขบคิดถึงสิ่งต่างๆ ช่วยกันระดมไอเดียบทสรุปรวมถึงแนวทาง
2. การเน้นปัญหา / โครงงาน / กรณีศึกษา (Problem / Project-based Learning / Case Study)
อาจเป็นสเกลที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อยจากเพียงแค่ระดมสมองเด็กๆ อาจต้องลองนำเสนอออกมาอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงงานกรณีศึกษาและการเน้นที่ปัญหาหรือโจทย์หนึ่งๆ ที่มีความท้าทาย
3. การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing)
การแสดงบทบาทสมมุติ การแสดงละคร ไปจนถึงการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อการแสดงความเข้าใจหรือเพื่อการลองแก้ไขปัญหาหนึ่งๆ
4. การแลกเปลี่ยนความคิด (Think – Pair – Share)
จับคู่เด็กๆ แลกเปลี่ยนความคิดในงานของกันและกันสร้างสภาพแวดล้อมการเป็นแรงซัพพอร์ตที่ดีให้กันแบ่งปันความคิดเห็นในงานของกันและกัน
5. การสะท้อนความคิด (Student’s Reflection
)
เด็กๆ เรียนเสร็จแล้วรู้สึกอย่างไรเขาเข้าใจไหมชอบไหมอยากพัฒนาต่อหรือเปล่าหรือมีแนวคิดอื่นๆ ใดที่เขาสนใจหรืออยากแชร์
6. การตั้งคำถาม (Questioning-based Learning)
โยนคำถามที่น่าสนใจ ท้าทายให้พวกเขาเปิดโอกาสให้พวกเขาคิดถึงสิ่งต่างๆ ในแง่มุมใหม่ๆ ขยายกรอบความคิดและมุมมอง
7. การใช้เกม (Games-based Learning)
เสริมสร้างการเรียนรู้ผ่านเกมสอดแทรกองค์ประกอบความสนุกเพื่อช่วยกระตุ้นการเรียนรู้การอยากมีส่วนร่วมปฏิสัมพันธ์และในขณะเดียวกันก็สามารถพัฒนาทักษะต่างๆ ได้ด้วยอย่างยอดเยี่ยมในตัว
สรุปสาระสำคัญ (Key Takeaway)
ในการพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียน บรรยากาศการเรียนรู้แบบ Active Learning ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญ เป็นหัวใจหลักของการเปิดประสบการณ์ การมีส่วนร่วมของเด็ก ๆ หากปราศจากการส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์ของเด็ก ๆ แล้ว ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณครูจะสามารถมองเห็นพัฒนาการและ ประเมินความก้าวหน้าทักษะ ต่างๆ ของเด็กๆ ได้ การสร้างห้องเรียน Active Learning คือการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ช่วยไม่เพียงให้เด็กพัฒนาทักษะต่างๆ อย่างแท้จริงแต่ยังช่วยให้คุณครูมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยว่าสิ่งที่ตัวเองตั้งใจที่จะส่งต่อนั้นเวิร์กหรือเปล่าเห็นผลไหมหรือต้องมีการปรับพัฒนากันต่อเป็นห้องเรียนที่เปิดโอกาสให้คุณครูมองเห็นทั้งความก้าวหน้าของเด็กๆ และแนวทางการสอนของตัวเอง รวมถึงมีสีสัน มีความสนุกสนานคุณครูไม่เบื่อไม่รู้สึกเหมือนพูดอยู่คนเดียวส่วนเด็กๆ ก็กระตือรือร้น มีความสนใจ หรือกล่าวโดยสรุปคือเป็นห้องเรียนที่เหมือนมาทำกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกันแต่ได้ประโยชน์และการเรียนรู้จริงจังอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการเรียนรู้สามารถติดตัวเด็กๆ ไปจนถึงการการทำงานและอนาคตของพวกเขา
อ้างอิง:
เมื่อต้องสอนแบบ Active Learning ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ »
Active Learning
ที่มา
https://www.starfishlabz.com/
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา
บทความการศึกษา
ทำความรู้จัก Active Learning หัวใจสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?