ผู้เขียน หัวข้อ: คนเราจะกลั้นใจตายได้ไหม ?  (อ่าน 2550 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3893
เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2015, 12:42:33 AM
ถ้าคนที่อ่านอยู่เคยได้อ่านตำนานพระนางสร้อยดอกหมากที่กลั้นใจตายเพราะน้อยใจพระเจ้าสายน้ำผึ้งคงจะสงสัยว่าคนเราจะกลั้นใจตายได้จริง ๆ หรือ หึหึ

โดยปรกติเราไม่ต้องคิดเลยเวลาหายใจ เพราะมันเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามเราอาจเปลี่ยนแปลงจังหวะการหายใจของเราได้เมื่อต้องการ แต่ก็เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การเป่าลูกโป่ง การผิวปากเรายังสามารถกลั้นลมหายใจได้ในช่วงสั้น ๆ และบางคนซึ่งฝึกฝนมาอย่างดีอาจกลั้นหายใจได้นานหลายนาทีร่างกายของเรายังมีกลไกป้องกันความผิดพลาดที่เรียกว่า Failsafe ซึ่งไม่ยอมปล่อยให้เราหยุดหายใจนานเกินไปเป็นอันขาด บางครั้งพ่อแม่วิตกทุกข์ร้อนมากว่า ลูกเล็กซึ่งอาละวาดเอาแต่ใจด้วยการกลั้นหายใจอาจทำอันตรายกับตนเองจนถึงแก่ชีวิตได้ ถึงแม้ว่าบางคนพยายามกลั้นหายใจ จนหน้าเขียวเป็นลมหมดสติไปแต่ทันทีที่ตกอยู่ในสภาพนั้น กลไกเฟลเซฟจะกระตุ้นให้ระบบการหายใจของร่างกายเริ่มทำงานอีกครั้งหนึ่ง


ถ้าพิจารณาจากข้อมูลนี้ คนปรกติก็ไม่น่าจะกลั้นใจตายได้นะ

ทารกแรกเกิดหายใจประมาณ ๑ ครั้งทุกวินาทีหรือ ๖๐ ครั้งต่อนาที เมื่อโตขึ้นหน่อยทารกหายใจประมาณ ๔๐ ครั้งต่อนาที ส่วนเด็กโตจะหายใจช้าลงกว่าทารกเล็กน้อย และผู้ใหญ่หายใจประมาณ ๑๕-๒๐ ครั้งต่อนาที นั่นคือหายใจหนึ่งครั้งทุก ๔-๕ วินาที ช่วงนอนหลับร่างกายค่อนข้างนิ่งเคลื่อนไหวน้อย จึงต้องการปริมาณออกซิเจนลดลง จังหวะหายใจจะค่อย ๆ ช้าลงและสม่ำเสมอ

ความรู้ข้อนี้ได้นำมาใช้ประโยชน์ในเรือดำน้ำ ระหว่างช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้งโดยบรรดาลูกเรือต้องถูกสั่งให้นอนหลับมากเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อใช้อากาศภายในลำเรือให้น้อยที่สุด

สัตว์ประเภทต่าง ๆ หายใจในอัตราช้าเร็วต่างกัน โดยทั่วไปสัตว์เล็กหายใจเร็วกว่าสัตว์ใหญ่ ตัวอย่างเช่น ในช่วงพักผ่อนหนูหายใจในอัตรา ๑๐๐-๒๐๐ ครั้งต่อนาที นกกระจอก ๙๐ ครั้งต่อนาที แมว ๒๐-๓๐ ครั้ง สุนัข ๑๕-๒๕ ครั้ง ม้า ๕ ครั้ง และช้างหายใจในอัตราเท่ากับม้า

ศูนย์ควบคุมการหายใจ ( Respiratory Center) ภายในก้านสมองตรงฐานสมอง ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการหายใจเซลล์กลุ่มนี้คอยตรวจสอบระดับออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดอย่างต่อเนื่อง เมื่อใดก็ตามที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ศูนย์ควบคุมการหายใจจะสั่งกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องกับการหายใจ ให้ทำงานเพิ่มขึ้นหรือเร็วขึ้นหรือทั้งสองอย่าง จนกว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินจะถูกขับออกมาโดยปอด และกลไกของร่างกายกลับคืนสู่สภาพปรกติ


ที่มา  :  http://kungsss.exteen.com/20070502/entry