ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นครูในยุคดิจิตัล  (อ่าน 1486 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3726
เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2021, 12:28:13 AM
เรียบเรียง: สุรเชษฐ์ ตรรกโชติ Content Developer Cohort 2 Alumni Teach For Thailand

          เมื่อนวัฒกรรมและ เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและ รวดเร็วเพื่อความสะดวกสบายและ การเข้าถึงข้อมูลที่มากมายในเวลาอันสั้น เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 15 เทคโนโลยีเริ่มพัฒนาจากนวัฒกรรมชิ้นเล็กๆ โดยที่ในวันนั้นกระบวนการเรียนรู้ที่นำหน้าเทคโนโลยี จนทุกอย่างถูกพัฒนาจนถึงในยุคปัจจุบันที่อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีก้าวหน้ากว่ากระบวนการเรียนรู้ ซึ่งในบริบทของประเทศไทย เทคโนโลยีมักถูกนำมาใช้เพียงเพื่อส่งเสริมความสะดวกสบาย แต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถใช้สิ่งเหล่านั้นเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และ รูปแบบการสอนให้สอดคล้อง มีประสิทธิภาพขึ้นได้ในยุคดิจิทัล

          นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก มีการนำไปปรับประยุกต์ใช้ในวงการต่างๆ รวมทั้งในเรื่องของการเรียนรู้และมิติรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็น 5G VR AR IOTs แอปพลิเคชันต่างๆ หรือ AI ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้และ การนำไปประยุกต์ใช้ทั้งต่อผู้เรียน ผู้สอน โดยมีบทบาทในการออกแบบการสอนทั้ง 3 ด้านได้แก่ 1.การออกแบบเนื้อหา 2.การออกแบบกิจกรรมทางการเรียน 3.การออกแบบกระบวนการสื่อสาร

1.การออกแบบเนื้อหา (Design of Content) โดยคำนึงถึงเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้เรียน และมุ่งเน้นไปทางด้านการสร้างสรรค์ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยความเท่าทันต่อยุคสมัยของเนื้อหาที่มีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ยืดเยื้อ ใช้เนื้อหาที่มีความเหมาะสมและ ไม่ก่อให้เกิดความตึงเครียด รวมทั้งควรเพิ่มทางเลือกให้กับผู้เรียนในการสอบถาม แสดงความคิดเห็นได้ และการออกแบบเนื้อหาไม่ควรมีแค่ตัวอักษรอย่างเดียว แต่ควรมีภาพหรือสีที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้มากขึ้น

2.การออกแบบกิจกรรมทางการเรียน (Design of Activities) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
2.1 พฤติกรรมทางการเรียน (Behaviorist Learning) หมายถึง ความสนใจในเนื้อหา การแสดงออก หรือลักษณะของผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงออกให้เห็นต่อกิจกรรมหรือเนื้อหา ดังนั้นการออกแบบกิจกรรมทางการเรียนจะต้องคำนึงถึงช่วงอายุของผู้เรียนและ คำนึงถึงสิ่งที่จะเป็นมิตรต่อผู้เรียนในแต่ละช่วงอายุ
2.2 การสร้างสรรค์ทางการเรียน (Constructivist learning) การออกแบบกิจกรรมในการเรียนรู้ควรเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและ ส่วนรวมมากขึ้น นอกจากนี้ในการออกแบบกิจกรรมควรเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ผ่านการเชื่อมโยงเนื้อหาใหม่ๆ เข้ากับประสบการณ์ในชีวิต หรือสถานการณ์รอบตัวของแต่ละคน

3. การออกแบบกระบวนการสื่อสาร
3.1 การออกแบบกระบวนการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญของการออกแบบการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล เพราะภาษาเขียนอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของการสื่อสารในปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มจะใช้การสื่อสารผ่านรูปภาพมากขึ้น รวมทั้งการทำการสอนที่ต้องอาศัยการตอบโต้กันผ่านทางหน้าจอ ซึ่งผู้สอนจะต้องใช้เครื่องมือที่มีอยู่ เพื่อออกแบบของเนื้อหาและ กระบวนการสื่อสาร เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและ สามารถต่อยอดความคิดได้
3.2 มีระบบการจัดการเก็บรวบรวมสารสนเทศทั้งในรูปแบบของภาพและ เสียง และคัดเลือกทรัพยากรที่มีและ นำมาใช้อย่างเหมาะสมโดยจะส่งผลให้การเรียนรู้มีความน่าสนใจ น่าติดตามไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย

          เมื่อองค์ประกอบของการสร้างรูปแบบของการสอนครบถ้วน สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับครูผู้สอนคือความสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนและ ปรับใช้กับการสอนได้อย่างต่อเนื่อง พยายามมองหาวิธีถ่ายทอด และเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อเวลามากขึ้น

อ้างอิง
(1) บทที่ 3 การออกแบบการเรียนรู้ในยุคดิจิตัล, นภัสสร ปราบปัญจะ, 2017, 6 March retrieved 2020, 8 July from https://fernnapassorn088.wordpress.com/2017/03/06/บทที่-3-การออกแบบการเรีย/

(2) การเรียนรู้ในยุคดิจิตัล 2020, 27 January, retrieved 2020, 8 July from http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/life-long-learning/3678/

ที่มา : https://www.educathai.com/knowledge/articles/413