ผู้เขียน หัวข้อ: ประโยชน์ของการฟังเพลง ขณะออกกำลังกาย  (อ่าน 955 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3726
เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2021, 11:30:24 PM
ปัจจุบัน ถ้าคุณได้มีโอกาสเข้าไปในสถานที่ออกกำลังกายต่างๆ ทั้งสวนสาธารณะ ฟิตเนส คุณจะสังเกตเห็นอุปกรณ์ยอดนิยม ที่ผู้ออกกำลังกายส่วนใหญ่ใส่กันอยู่ สิ่งนั้นก็คือหูฟังรูปแบบต่างๆ นั่นเอง หูฟังจัดเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ชื่นชอบออกกำลังกายส่วนใหญ่พกติดตัวตลอดเวลา เสียงเพลงจะทำให้พวกเขาเพลิดเพลินและสนุกสนานไปกับการออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้แล้ว หลายคนอาจจะยังไม่ทราบถึงประโยชน์อื่น ๆ ของการฟังเพลงขณะออกกำลังกาย ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าการฟังเพลงขณะออกกำลังกายส่งผลดีอย่างไรบ้าง การฟังเพลงขณะออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยลดความเบื่อหน่ายแล้ว ยังช่วยพัฒนาคุณภาพในการออกกำลังกายโดยการเพิ่มความทนทานได้อีกด้วย

ประโยชน์ของการฟังเพลงขณะออกกำลังกาย

? การฟังเพลงขณะออกกำลังกายนอกจากจะช่วยลดความเบื่อหน่ายแล้ว ยังช่วยพัฒนาคุณภาพในการออกกำลังกาย โดยการเพิ่มความทนทานได้อีกด้วย1

? มีงานวิจัยที่ทำการวัดคลื่นสมองด้วยเครื่อง Electroencephalogram (EEG) ในขณะฟังเพลงพบว่า การฟังเพลงขณะออกกำลังกายนั้นช่วยลดคลื่นธีต้า (Theta waves) ชนิดความถี่ 4-7 เฮิร์ต (Hz) ได้2ซึ่งกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการระงับอาการเมื่อยล้าต่างๆ3 นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนบอกว่า หากวิ่งพร้อมฟังเพลงไปด้วย จะทำให้วิ่งได้นานขึ้นก็เป็นได้

? เมื่อดูผลของการฟังเพลงที่มีต่อระบบการทำงานของร่างกายขณะออกกำลังกาย พบว่า การฟังเพลงที่ทำให้เรารู้สึกสนุกสนานจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตขึ้น 26 เปอร์เซ็นต์ ในทางตรงข้าม หากฟังเพลงที่ฟังแล้วหดหู่ การไหลเวียนโลหิตก็จะลดลงไปถึง 6 เปอร์เซ็นต์4 ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตที่เพิ่มขึ้นก็จะช่วยให้ร่างกายนำออกซิเจนไปใช้ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ถึงตอนนี้หลายคนคงพอจะทราบถึงประโยชน์ของการฟังเพลงไปบ้างแล้ว ก็อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วต้องเลือกเพลงแบบไหนมาใช้ฟังขณะออกกำลังกายกันนะ

การเลือกระดับความเร็วของเพลงที่ฟังขณะออกกำลังกายก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการออกกำลังกายได้ มีงานวิจัยพบว่า การฟังเพลงที่มีจังหวะเร็วจะส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกายเมื่อออกกำลังกายที่ระดับความหนักเบาถึงปานกลาง 5  โดยที่การออกกำลังกายแต่ละชนิดก็จะมีระดับความเร็วของจังหวะเพลงที่เหมาะสมแตกต่างกัน เช่น หากต้องการปั่นจักรยานให้มีสมรรถภาพทางกายสูงสุดก็ควรเลือกฟังเพลงที่จังหวะความเร็ว 125 ? 140 BPM6  หรือเวลาวิ่งบนลู่วิ่งสายพานให้มีสมรรถภาพทางกายสูงสุดก็ควรเลือกฟังเพลงที่จังหวะความเร็ว 123-131 BPM7

แต่ทั้งนี้ร่างกายของแต่ละบุคคลก็จะตอบสนองต่อระดับจังหวะความเร็วของเพลงที่แตกต่างกัน ลองเลือกเพลงที่คุณชอบ ที่สามารถทำให้การออกกำลังกายของคุณสนุกสนาน มาจัดเพลย์ลิสต์ให้เหมาะสม แล้วไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอกัน


ที่มา : https://www.thaihealth.or.th/