ผู้เขียน หัวข้อ: โมเดลการปฏิบัติงาน เลิศชาย โมเดล version2 : LERTCHAI (PLUS+) MODEL  (อ่าน 13767 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3925
           ต่อยอดโมเดลการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ LERTCHAI MODEL (เลิศชาย โมเดล) สู่ LERTCHAI (PLUS+) MODEL ซึ่ง PLUS แปลว่าบวก หรือ LERTCHAI+ MODEL นวัตกรรม version2 นี้ จึงบวก จุดแข็งของบุคลากร ที่มี โดยเฉพาะกับภาคีเครือข่าย โดย PLUS ที่เพิ่มขึ้นมีความหมายว่า

P : Participation ส่งเสริม ?การมีส่วนร่วม? ของบุคลากรและภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา

L : Learning and development ?เรียนรู้และพัฒนา? ตามความสามารถ บทบาท และภารกิจร่วมกัน

U : Unity มุ่งเน้นการทำงานอย่างสร้างสรรค์และมี ?เอกภาพ? กับภาคีเครือข่าย

S : Social environment ภายใต้ ?ภูมิสังคม? แบบวิถีชาวบ้าน และการเกษตรกรรม

พร้อมน้อมนำหลักการทรงงาน ?การมีส่วนร่วม? ?ทำงานแบบองค์รวม? และ ?ภูมิสังคม? มาใช้ในการปฏิบัติงาน


รูปแบบการบริหารจัดการ LERTCHAI MODEL

            รูปแบบการบริหารจัดการ LERTCHAI MODEL เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้

ขั้นวางแผน (Plan) สำรวจ และวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อวางแผนและจัดลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหาและกรอบการดำเนินงาน
L : Learning  (เรียนรู้พื้นที่เรียนรู้คนและกลุ่มเป้าหมาย)   ศึกษาพฤติกรรมของบุคลากรในด้านการปฏิบัติงาน อุปนิสัย เจตคติ และการทำงานร่วมกันของบุคลากรทุกคน บริบทพื้นที่ปฏิบัติงาน และกลุ่มเป้าหมายที่รับบริการ เพื่อเป็นข้อมูลในวางแผนการดำเนินงาน
E : Explore (สำรวจให้ได้ซึ่งปัญหาและความต้องการ) ศึกษาสภาพปัญหาของบุคลากรแต่ละคนที่เกิดขึ้น จากการปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อม และขีดความสามารถ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากนโยบายการจัดการศึกษา บริบทพื้นที่การปฏิบัติงาน ผู้รับบริการ ว่ามีปัญหาอย่างไร มีความต้องการในการแก้ปัญหาเรื่องใด หรือรับการสนับสนุนในด้านต่างๆอย่างไร เพื่อจัดทำเป็นแผนในการดำเนินงาน

ขั้นดำเนินการ (Do) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง สร้างความร่วมมือร่วมใจเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
R : Relationship (เร่งสร้างและสานความสัมพันธ์) สร้างความสัมพันธ์ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการระหว่างบุคลากร ให้มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยใช้เทคนิควิธีการที่หลากหลาย เพื่อสร้างความร่วมมือ ในการปฏิบัติงานตามแผนงานร่วมกัน
T : Teamwork (พัฒนาทีมงานให้มีความเข้มแข็ง) สร้างทีมงานให้มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม หลักประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน และการทำงานเป็นทีม โดยสร้างทีมงาน ในด้านต่างๆตามความถนัด เพื่อให้ร่วมกันขับเคลื่อนงานและกิจกรรมตามแผนงานที่วางไว้ พร้อมกันนี้ยังสร้างและพัฒนาทีมงานองค์กรนักศึกษา เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทั้งการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาสถานศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การพัฒนา กศน.ตำบล และกิจกรรมของชุมชน

ขั้นตรวจสอบ (Check) ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและกระตุ้นให้บุคลากรปฏิบัติงานโดยยึดเป้าหมายของความสำเร็จ
C : Creative  (เสริมแรงด้วยความคิดที่สร้างสรรค์) ส่งเสริมให้บุคลากรร่วมกันตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน และกิจกรรมต่างๆระหว่างกัน อย่างสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ วิธีการในการปฏิบัติงานที่ดีร่วมกัน เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ
H : Heartily (ให้มุ่งมั่นทำงานด้วยความเต็มใจ) สร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรในการใช้ความรู้ความสามารถของตนเองที่มี เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ และสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงการยกย่องชมเชย เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) สะท้อนผลการปฏิบัติงานของบุคลากรตามสภาพจริง พร้อมปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง และธำรงให้เกิดประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
A : Attitude  (และคงไว้ด้วยเจตคติของการทำงานที่ดี) ปลูกฝังเจตคติที่ดีในความสำเร็จ เพื่อคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ร่วมกันแก้ไขปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
I : Ideology (ในวิถีอุดมการณ์และจิตวิญญาณ กศน.)  ยกระดับความคิดและจิตวิญญาณ ในฐานะครู กศน. ที่มีอุดมการณ์ ในการพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชน อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2021, 10:34:14 AM โดย เลิศชาย ปานมุข »