กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือราชการของ กศน. โดยตรง > สรุปความรู้เกี่ยวกับงาน กศน.

หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ

(1/1)

เลิศชาย ปานมุข:
หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ 

****************************









หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ
****************************
รายจ่ายตามงบประมาณจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) รายจ่ายของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ 2) รายจ่ายงบกลาง

1. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท

1.1 งบบุคลากร หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
------ 1) เงินเดือน
------ 2) ค่าจ้างประจำ
------ 3) ค่าจ้างชั่วคราว
------ 4) ค่าตอบแทนพนักงานราชการ
1.2 งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ
------ 1) ค่าตอนแทน
------ 2) ค่าใช้สอย
------ 3) ค่าวัสดุ
------ 4) ค่าสาธารณูปโภค
1.3 งบลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน
------ 1) ค่าครุภัณฑ์
------ 2) ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
1.4 งบเงินอุดหนุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเป็นค่าบำรุงหรือเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานของรัฐ
------ 1) เงินอุดหนุนทั่วไป
------ 2) เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
1.5 งบรายจ่ายอื่น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใดงบรายจ่ายหนึ่ง

2. รายจ่ายงบกลาง หมายถึง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไป

(1) เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ
(2) เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ
(3) เงินเลื่อนขั้นเลื่อนอันดับเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ
(4) เงินสำรองเงินสมทบและเงินชดเชยของข้าราชการ
(5) เงินสมทบของลูกจ้างประจำ
(6) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ
(7) เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
(8.) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรักษาความมั่นคงของประเทศ
(9) เงินราชการลับในการรักษาความมั่นคงของประเทศ
(10) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(11) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐ

นอกจากรายจ่ายรายการต่างๆข้างต้นแล้ว ยังอาจตั้งรายจ่ายรายการอื่นๆ ไว้ในรายจ่ายงบกลางตามความเหมาะสมในแต่ละปีได้

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version