เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
Menu
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ครูเลิศชาย ปานมุข
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความดีดี คำคม ข้อคิดในการดำเนินชีวิต
อำนาจแห่งความโกรธ
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า:
1
ผู้เขียน
หัวข้อ: อำนาจแห่งความโกรธ (อ่าน 3148 ครั้ง)
เลิศชาย ปานมุข
Administrator
Hero Member
กระทู้: 3899
อำนาจแห่งความโกรธ
เมื่อ:
กรกฎาคม 20, 2015, 08:24:05 PM
อำนาจแห่งความโกรธ
ในอดีตกาล พระนางพิมพาจุติจากพรหมโลก มาเกิดเป็นกุมารีงดงามในตระกูลมั่งคั่งในแคว้นกาสี ส่วนพระโพธิสัตว์ก็จุติจากพรหมโลกมาเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ผู้มั่งคั่งชาวกาสีเช่นเดียวกัน บิดามารดาตั้งชื่อให้ว่า โพธิกุมาร ครั้นเจริญวัยขึ้น โพธิกุมาร ก็ได้ไปเรียนสรรพวิชาที่เมืองตักกศิลา เมื่อโพธิกุมารสำเร็จการศึกษาแล้ว บิดามารดาจึงจัดการนำกุมารีนั้นมาให้เป็นภรรยา
เนื่องจากจุติมาจากพรหมโลกทั้งคู่ ทั้งสองจึงไม่มีใจในการครองเรือนเลย แม้จะอยู่ร่วมห้องกัน แต่ทั้งสองก็ไม่เคยแลดูกันด้วยอำนาจแห่งราคะ ทั้งสองเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ขึ้นชื่อว่าเมถุนธรรม (เสพกาม) ต่างไม่เคยประสบแม้ในฝัน ต่อมาเมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรมแล้ว
โพธิกุมารจึงบอกกุมารีภริยาว่าเธอจงรับทรัพย์ ๘๐ โกฏินี้ไว้เถิด เราจักออกบวชในถิ่นหิมพานต์เพื่อทำที่พึ่งแก่ตน นางกุมารีภริยาจึงถามว่า การบรรพชานั้นทำได้แต่บุรุษเท่านั้นหรือ โพธิกุมารตอบว่าแม้สตรีก็บรรพชาได้ นางกุมารีภริยาจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ฉันก็จะไม่ขอรับเขฬะที่ท่านถ่มทิ้งไว้ ฉันจะออกบวชด้วย ตกลงกันดังนั้นแล้ว
ทั้งสองก็เอาทรัพย์มาบริจาคทานเป็นการใหญ่ แล้วออกบวชไปสร้างอาศรม เลี้ยงชีวิตด้วยผลาผลอยู่ในป่า กาลเวลาผ่านไป ๑๐ ปี ญานสมาบัติก็ยังไม่ได้บังเกิดแก่ดาบสและปริพพาชิกาทั้งสองเลย ทั้งสองจึงเที่ยวจาริกไปตามชนบทเรื่อยไป จนกระทั่งมาถึงนครพาราณสีจึงได้ไปพักอาศัยอยู่ในพระราชอุทยาน
วันหนึ่ง พระเจ้าพาราณสีเสด็จออกประพาสราชอุทยาน ทรงทอดพระเนตรเห็นดาบสและนางปริพพาชิกา นางปริพพาชิกานั้นแม้อยู่ในเพศนักบวชก็ยังดูงามเลิศมีเสน่ห์เป็นที่ต้องตา ทำให้พระเจ้าพาราณสีมีพระทัยปฏิพัทธ์ด้วยอำนาจกิเลส
พระเจ้าพาราณสีจึงเข้าไปถามพระดาบสว่า นางปริพพาชิกาผู้นี้เป็นอะไรกับท่าน เป็นภริยา หรือเป็นน้องสาว หรือเป็นใครอื่น โพธิดาบสตอบว่าไม่ได้เป็นอะไรกัน แต่เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ นางเป็นภริยาของข้าพเจ้า บัดนี้ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นผู้ออกบวช อาศัยธรรมเดียวกัน เป็นผู้ถือพรหมจรรย์เสมอกัน
พระเจ้าพาราณสีจึงทรงลองหยั่งเชิงดูว่าว่าถ้าพระองค์นำนางไป พระดาบสจะทำอย่างไร จึงตรัสถามว่า ดูก่อนท่านดาบส ถ้ามีใครใช้กำลังฉุดคร่าพาเอานางปริพพาชิกาผู้นี้ไป ท่านจะทำอย่างไร
โพธิดาบสตอบว่า หากใครมาฉุดรั้งนางไป ข้าพเจ้าย่อมต้องโกรธ แต่ข้าพเจ้าจะระงับความโกรธนั้นให้เสื่อมไป แต่หากความโกรธของข้าพเจ้าไม่เสื่อมไป ข้าพเจ้าก็จะข่มห้ามความโกรธนั้นเสียด้วยเมตตาภาวนาโดยพลัน พระราชาผู้มีกำหนัดหนักในนางปริพาชิกา มีพระหทัยบอดแล้วด้วยอำนาจกามราคะ เมื่อได้ฟังพระดาบสจึงสั่งให้ราชบุรุษบังคับพานางปริพพาชิกาไปยังพระราชนิเวศน์
ฝ่ายพระดาบสเมื่อเห็นนางปริพาชิกาถูกบังคับพาไปต่อหน้า ความโกรธก็ปรากฎขึ้นดุจอสรพิษถูกฉุดดึงออกจากจอมปลวก คิดว่านางนั้นไม่เป็นที่รักของเราก็หามิได้ ด้วยชาติ ตระกูล มารยาท และบรรพชา ไม่มีอะไรที่ทำให้เราไม่รักนาง แม้กำลังของเราก็มีมากดังช้างสาร อยากจะลุกขึ้นบดขยี้ราชบุรุษที่ฉุดลากนางนั้น
แต่เมื่อหวนคิดว่าที่ตนออกบวชก็เพราะเหตุแห่งโพธิญาน การบรรลุพระโพธิญานได้นั้นต้องรักษาศีลมิให้ขาดในที่ทั้งปวง พระสัพพัญญุตาญาณนี้เป็นที่รักของเรายิ่งกว่านางปริพาชิการ้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า เราจะอดทนอดกลั้นความโกรธไว้ แม้ใครจะแทงหรือฟันร่างนางให้ขาดเป็นชิ้นๆ เราก็จะไม่เผลอทำลายศีลบารมีของเรา ดำริแล้วโพธิดาบสก็ข่มใจไว้ไม่ยอมแลดูนางอีก
เมื่อราชบุรุษนำนางปริพพาชิกาไปสู่พระราชนิเวศน์แล้ว พระเจ้าพาราณสีก็เสด็จตามไป เกลี้ยกล่อมนางด้วยลาภยศเป็นอันมาก แต่นางปริพาชิกาก็ได้พรรณนาโทษของยศและคุณของบรรพชาให้พระราชาฟัง พระราชาได้ฟังจึงทรงดำริว่าปริพาชิกาผู้นี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้พระดาบสนั้น
เมื่อปริพาชิกานี้ถูกฉุดมาก็มิได้แสดงอาการผิดปกติแต่อย่างใดเลย การทำสิ่งผิดในผู้มีคุณธรรมเหมือนสองท่านนี้ไม่สมควรเลย จึงดำริจะพาปริพาชิกากลับคืนไปยังอุทยานแล้วขอขมาต่อท่านทั้งสอง พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษพานางปริพาชิกากลับคืนราชอุทยาน ส่วนพระองค์เสด็จล่วงหน้าไปหาพระดาบสก่อน เห็นพระดาบสนั่งเย็บจีวรอยู่ แม้พระองค์เสด็จเข้าไปใกล้แล้วก็ไม่รู้ตัวจึงไม่ได้กล่าวเชื้อเชิญพระราชา พระราชาเข้าใจว่าพระดาบสโกรธ ไม่ยอมเจรจาด้วย ตรัสว่า
ท่านบรรพชิตผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าพานางปริพาชิกานั้นไป ท่านรู้สึกโกรธข้าพเจ้าบ้างหรือไม่
โพธิดาบสได้ฟังจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ความโกรธเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าแล้วและยังไม่เสื่อมคลายไป แต่ข้าพเจ้าได้ยับยั้งความโกรธนั้นไว้ มหาบพิตร บุคคลใดถูกความโกรธเข้าเผาผลาญ ความโกรธเข้าครอบงำ บุคคลนั้นย่อมเหมือนถูกไฟเผา เป็นผู้ใช้กำลัง ความน่ากลัว เป็นผู้เสื่อมยศ และละกุศลกรรม ผู้ถูกความโกรธครอบงำย่อมเป็นผู้ไร้ปัญญา
พระราชาได้ฟังธรรมจากโพธิดาบสแล้วเกิดความเลื่อมใส เมื่อราชบุรุษพานางปริพาชิกามาถึง พระราชาจึงได้ขอขมาโทษท่านทั้งสอง โพธิดาบสและนางปริพพาชิกาอาศัยอยู่ในราชอุทยานนั้นต่อมา จนเมื่อนางปริพพาชิกาสิ้นชีวิตลง โพธิดาบสจึงเดินทางออกจากราชอุทยานไปสู่ป่าหิมพานต์ ยังฌาณและสมาบัติให้เกิด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ไปสู่พรหมโลก
พระเจ้าพาราณสี มาเกิดเป็น พระอานนท์
โพธิดาบส มาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า
นางปริพพาชิกา มาเกิดเป็น พระนางพิมพา
ที่มา :
http://variety.teenee.com/foodforbrain/59928.html
Tweet
พิมพ์
หน้า:
1
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ครูเลิศชาย ปานมุข
บทความดีดี
บทความดีดี คำคม ข้อคิดในการดำเนินชีวิต
อำนาจแห่งความโกรธ
Search
ชื่อผู้ใช้งาน
รหัสผ่าน
คงสถานะการเข้าระบบไว้ตลอด
ลืมรหัสผ่าน?