ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมราคาน้ำมันของไทยต้องอิงราคาสิงคโปร์  (อ่าน 2950 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3740
          การตั้งราคาซื้อขายสินค้าทั่วไปส่วนใหญ่มีวิธีการกำหนดราคา  2  ประเภท  คือ  การตั้งราคาสินค้าจากต้นทุนบวกกำไร  (Cost  Plus)  และการตั้งราคาสินค้าโดยอ้างอิงตลาดใหญ่  ๆ  (Reference  Price)  ที่มีปริมาณการซื้อขายสูง  ซึ่งวิธีการหลังนี้จะใช้กับสินค้าโภคภัณฑ์  (Commodity)  เช่น  น้ำมัน  ข้าว  น้ำตาล  ผัก  ผลไม้  ฯลฯ  ที่มีตลาดกลาง  และมีการซื้อขายกันอย่างเสรี


          สำหรับการกำหนดราคาน้ำมัน  ณ  โรงกลั่นของไทยได้ใช้เกณฑ์อ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ซื้อขายกันในตลาด โลกซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปร์  ลักษณะเดียวกับการซื้อขายสินค้าอื่นๆ  ตัวอย่างที่ได้ชัดในประเทศไทย  เช่น  การอ้างอิงราคาซื้อขายดอกไม้  ที่ปากคลองตลาด  ราคาผลไม้ที่ตลาดไทย  หรือการอ้างอิงราคาข้าวที่ท่าข้าวกำนันทรง  เป็นต้น  ทั้งนี้  ราคาน้ำมันอ้างอิงที่ตลาดสิงคโปร์ไม่ใช่ราคาที่โรงกลั่นในสิงคโปร์ประกาศ ขึ้นมาเอง  แต่เป็นตัวเลข ราคาที่ผู้ค้าน้ำมันจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้าไปตกลงซื้อ - ขายผ่านตลาดกลางสิงคโปร์  ซึ่งเป็นศูนย์กลางซื้อขายน้ำมันระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกไกล  นอกจากนี้  สิงคโปร์ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานตัวแทนบริษัทน้ำมันรายใหญ่ทั่วโลกประมาณ  325  บริษัท  มีปริมาณการซื้อขายสูงเช่นเดียวกันกับตลาดในยุโรปและสหรัฐอเมริกา  ทำให้ยากต่อการปั่นราคาโดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย  และราคาที่ตกลงจะสะท้อน  จากดีมานด์และซัพพลายของน้ำมันในภูมิภาคนี้  อีกทั้งเป็นตลาดการส่งออกน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย  และอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด  ดัง นั้น  ต้นทุนในการนำเข้า  จึงเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุดที่โรงกลั่นไทยต้องแข่งขันด้วย  นอกจากนั้น  ราคายังเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับตลาดอื่นๆ  ทั่วโลก


          อย่างไรก็ดี  หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นของไทยไม่ได้อ้างอิงตลาดสิงคโปร์  จะทำให้เกิดความไม่สมดุลในการผลิตและการจัดหาของประเทศ  เพราะ หากไทยกำหนดราคาน้ำมันเอง  เมื่อใดที่ราคาในประเทศไทยต่ำกว่าราคาที่ตลาดสิงคโปร์จะทำให้โรงกลั่นนำน้ำมันส่งออกไปขาย  เพราะจะได้ราคาสูงกว่า  อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันในประเทศได้  และเมื่อใดที่ราคาสิงคโปร์ลดลงจนต่ำกว่าราคาที่โรงกลั่นกำหนด  บริษัทน้ำมันก็ต้องอยากนำเข้าจากตลาดสิงคโปร์  เพราะราคาถูกกว่า  ทั้งสองกรณีจะทำให้เกิดการนำเข้า-ส่งออกโดยไม่จำเป็น  และทำให้สูญเสียเงินตราต่าง ประเทศ  อีกทั้งการกำหนดค่าใช้จ่ายและรายได้ของโรงกลั่นในระดับคงที่  จะทำให้โรงกลั่นของไทย  ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ  เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง

          การกำหนดราคาน้ำมันโดยอ้างอิงราคาตลาดโลกที่สิงคโปร์จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมเป็นไปตามกลไกตลาด  เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย  และเป็นวิธีการปฏิบัติสากลที่ใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันทั่วโลก



หมายเหตุ : ตลาดซื้อขายน้ำมันระหว่างประเทศแหล่งใหญ่ของโลกมี  3  แห่งได้แก่
ตลาดนิวยอร์ค  (NYMEX)  เป็นตลาดกลางซื้อขายน้ำมันในอเมริกา
ตลาดลอนดอน  (IPE) เป็นตลาดกลางซื้อขายน้ำมันในยุโรป
ตลาดสิงคโปร์  (SIMEX)  เป็นตลาดกลางซื้อขายน้ำมันในเอเชียแปซิฟิก

ที่มา  :  วิชาการดอทคอม