ผู้เขียน หัวข้อ: พระมหากรุณาธิคุณในหลวง ในความทรงจำของประชาชนลาว  (อ่าน 2129 ครั้ง)

ออนไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3740

เมื่อวันที่ 15 ต.ค. เว็บไซต์โทรโข่ง เว็บไซต์ชั้นนำในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.) ลาว ด้านข่าวสารและสังคม รายงานถึงโครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ แห่งราชอาณาจักรไทย ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณช่วยเหลือประชาชนชาวลาวในหลายๆ ด้าน ได้แก่

1.โครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านกสิกรรมห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22) เกิดขึ้นในสมัยนายไกสอน พมวิหาน เป็นประธานประเทศ โดยโครงการนี้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมืองเดือน เม.ย.2537 ถือเป็นโครงการแรกของพระองค์ใน สปป.ลาว ตั้งอยู่เมืองซายทอง นครหลวงเวียงจัน

กิจกรรมหลักในการดำเนินงานคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำ เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยซอน การสร้างฝายห้วยซั้ว การพัฒนาปรับปรุงดิน การพัฒนาด้านวิชาการกสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ การประมง การพัฒนาวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยี

2.โครงการส่งเสริมกิจกรรมโรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้า (หลัก 67) แขวงเวียงจัน โดยก่อสร้างบ้านพักนักเรียน พัฒนาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค และกสิกรรม นอกจากนี้ยังจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมของโรงเรียน เพื่อดำเนินการด้านต่างๆ ดังนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบน้ำประปา สร้างหอพักนักเรียน อาคารเรียน รวมถึงกิจกรรมด้านโภชนาการ และสุขอนามัย กิจกรรมด้านการส่งเสริมอาชีพ และการเผยแพร่ความรู้ด้านกสิกรรม

3.โครงการฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุขสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่จัดฝึกอบรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 เป็นต้นมา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถด้านการรักษาพยาบาล และเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรของทั้ง 2 ประเทศ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และประสานความร่วมมือกันในการพัฒนางานด้านการแพทย์ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

4.โครงการสวนสาธิตกสิกรรมแบบผสมผสาน ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา กับมหาวิทยาลัยจำปาสัก โครงการดังกล่าวลงนามเมื่อวันที่ 21 มี.ค.2550 กิจกรรมภายใต้โครงการประกอบด้วย งานด้านการพัฒนาดิน ชลประทาน เลี้ยงสัตว์ การประมง กสิกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษา และการเผยแพร่ความรู้ด้านกสิกรรม

5.การพัฒนาบุคลากรของหอสมุดแห่งชาติลาว เนื่องจากห้องสมุดเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาด้านการศึกษา จึงให้บุคลากรจากหอสมุดแห่งชาติลาวมาฝึกอบรมสาขาวิชาบรรณารักษ์ ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคราม โดยใช้ทรัพย์สินส่วนพระองค์ในระยะเริ่มต้น

ต่อมารัฐบาลไทยเห็นความสำคัญ และความจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือในสาขาดังกล่าว และเพื่อสนองตามพระราชดำริของพระองค์ จึงรับช่วงดำเนินโครงการต่อ ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการลาว-ไทย ที่มีกระทรวงการต่างประเทศของทั้ง 2 ประเทศ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ทั้งนี้ นอกจากโครงการข้างต้นแล้ว ยังมีโครการอื่นๆ อีกหลายโครงการ

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/hot-topics/news_53335