ผู้เขียน หัวข้อ: เข้าใจการศึกษา เข้าถึง...?ปฏิรูป?  (อ่าน 1788 ครั้ง)

ออฟไลน์ เลิศชาย ปานมุข

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3740
เมื่อ: เมษายน 08, 2016, 11:08:10 PM


"การศึกษา"...มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรของประเทศอย่างมาก แต่การศึกษาของประเทศไทยกลับกำลังมีปัญหา ทั้งความเหลื่อมล้ำในโอกาสการศึกษาที่ไม่ทั่วถึง คุณภาพการสอนของครูผู้สอนไม่ได้มาตรฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอยู่ในระดับต่ำ ฯลฯ

หากเปรียบเรื่องการผลิตอาหารยังมี อย.เป็นหน่วยงานควบคุมคุณภาพ สำหรับด้านการเงินก็ยังมีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นหน่วยงานตรวจสอบการเงิน หรือแม้แต่ซื้อสินค้ายังมีใบรับประกันคุณภาพของสินค้านั้นๆ ดังนั้น...?ระบบการศึกษา? ก็เช่นกัน ย่อมจะต้องมีการตรวจสอบและประกันคุณภาพ

ดร.ชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา บอกว่า หน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ถูกสร้างขึ้นในฐานะที่เป็นกลไกเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 และตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2543

กำหนดว่า...สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาและได้รับการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีหน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคด้านการศึกษา โดย สมศ. เป็นองค์กรอิสระจากภาครัฐ

?ดังนั้น การชะลอการตรวจสอบจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ผู้บริโภค หรือเท่ากับเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค?

ดร.ชัยณรงค์ ย้ำว่า การดำเนินงานของ สมศ.มีกฎหมายรองรับชัดเจนว่าในทุก 5 ปี สถาบันการศึกษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างน้อย 1 ครั้ง จึงแสดงให้เห็นว่า...ผู้ที่เห็นด้วยกับการชะลอการประเมินยังไม่เข้าใจถึงกฎเกณฑ์ กติกา และเงื่อนไขของระบบการประเมินอย่างแท้จริง รวมทั้งไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ สมศ.

ดร.รุ่ง แก้วแดง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เสริมว่า การศึกษาไทยมีปัญหาเกิดขึ้นหลายๆอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยไม่ว่าจะเป็นจากการวัดและประเมินจากภายในและภายนอกประเทศ ก็จะพบว่า...อัตราด้านผลสัมฤทธิ์ของไทยอยู่ในระดับต่ำ

?สาเหตุมาจากเพราะการเรียนการสอนของไทยที่เน้นการท่องจำมากกว่าการคิดวิเคราะห์ เป็นเพราะรัฐมนตรีไม่มีความเข้าใจถึงปัญหาด้านการศึกษาของประเทศอย่างลึกซึ้ง กอปรกับการไม่ต่อเนื่องของนโยบาย...โดยพบว่าเฉลี่ยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ จะอยู่ในตำแหน่งเฉลี่ยเพียงละ 8 เดือน ต่อ 1 คน?

จึงกลายเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศไทยที่มีปัญหาอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

สำหรับบทบาทของหน่วยงานในการตรวจสอบการศึกษา ดร.รุ่ง บอกว่า ปัจจุบันประเทศไทยมี สมศ.เป็นผู้ดูแลสถานศึกษาทั่วประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ ซึ่งจะช่วยให้โรงเรียนได้รู้และเข้าใจในความเป็นจริง จากแต่เดิมใช้ศึกษานิเทศก์ ในการตรวจมาตรฐานการศึกษา แต่ก็พบว่า...บทบาทของศึกษานิเทศก์ในอดีตจะเป็นไปในการเยี่ยมเยียน มากกว่าตรวจตราสถานศึกษา

?ตลอดระยะเวลาการทำงานของ สมศ. ก็มีโรงเรียนต่างๆเริ่มตื่นตัวต่อการประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นไป แต่ทว่าก็พบว่ายังมีโรงเรียนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้ตื่นตัวต่อการประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา?

?การศึกษาไทย?...ในวันนี้จึงมีปัญหาที่สั่งสมมาเยอะแยะมากมายจนกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) มองว่า เกิดจากปัญหาด้านคุณภาพครูและระบบการผลิตครูก็มีปัญหา ส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ซึ่งในการศึกษาแต่ละประเภทก็จะมีปัญหาที่แตกต่างกันไป

ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน เป็นพื้นฐานทางความรู้ที่จะต่อยอดไปในระดับอาชีวศึกษา หรืออุดมศึกษาต่อไป แต่กลับพบว่าเด็กไทยมีผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างต่ำ ไม่ว่าจะเป็นการสอบในระดับสากลอย่าง PISA ก็พบว่าเด็กไทยมีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ

หรือแม้แต่การสอบ ONET ก็พบว่าเด็กไทยสอบตกกว่าครึ่ง?การแก้ปัญหาจึงต้องมีความแตกต่างกันออกไป...การที่พยายามรวบเอาหน่วยงานด้านการศึกษาทุกฝ่ายเข้าไว้ที่กระทรวงศึกษาธิการเพียง
แห่งเดียวนั้น ถือเป็นแนวคิดที่ล้าสมัย...สมควรที่จะต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน?

ดร.ภาวิช เสนอว่า บทบาทของการตรวจสอบคุณภาพการศึกษานั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ทั้งนี้ สมศ.ก็จะต้องมีการปรับปรุงขั้นตอนการประเมิน และปัญหาเรื่องคุณภาพของผู้ประเมินที่ไม่คงเส้นคงวาในแต่ละกลุ่ม หรือในแต่ละพื้นที่ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ และเกณฑ์การประเมินก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าสามารถทำให้สถานศึกษาได้รับการพัฒนาที่แท้จริงหรือไม่ สมศ.ต้องแก้ปัญหาของตัวเองในจุดนี้ให้ได้

ประเด็นโต้แย้งในเรื่อง ?การชะลอการประเมิน? ตามหลักการแล้วไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องชะลอการประเมินออกไป ถ้าจะชะลอจริง ต้องมีงานวิจัยออกมายืนยัน โดยงานวิจัยนั้นต้องเป็นผลงานวิจัยที่เชื่อถือได้ และมีเกณฑ์ในการวัดและประเมินอย่างถูกต้องแม่นยำมากกว่าเพียงคำพูด

ผลวิจัยเปรียบเทียบระหว่างประเทศที่มีระบบการประกันคุณภาพ กับประเทศที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ในหลายๆประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา เยอรมนี เวียดนาม พบว่า...สิ่งที่เด่นชัดที่สุดคือ ในประเทศที่ไม่มีระบบการประกันคุณภาพจะมีอัตราความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการหรือนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นช้ามาก

หรือ...แทบจะมีเพียง 5% ต่อ 5?10 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่นำระบบการประกันคุณภาพไปดำเนินการใช้แล้ว 3-5 ปี จะมีอัตราการเกิดนวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ๆเร็วขึ้นกว่าเดิม 3-5% ต่อปี

ในประเทศที่ไม่มีระบบการประกันคุณภาพ มักเกิดอาการที่เรียกว่า ?หลากหลายความคิดเห็น แต่ไม่เป็นเอกภาพในเชิงพัฒนา? คล้ายๆกับว่า...แต่ละสถานศึกษาก็มีวิธีการดีๆที่จะพัฒนาคุณภาพตนเอง แต่พอมาดูภาพรวมของประเทศ สิ่งต่างๆที่ทำดูเหมือนว่าไม่ได้ช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศใดๆที่ชัดเจน

เรียกว่า ?พัฒนาได้เป็นหย่อมๆ? ที่สนใจก็พัฒนาไป ที่ไม่สนใจก็เลยตามเลย อยู่ไปวันๆ

ดังนั้น...บทบาทของการประกันคุณภาพการศึกษา คือการประกันความเสี่ยงต่อคุณภาพการศึกษา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการศึกษาที่จัดนั้น มีมาตรฐานสามารถพัฒนาลูกหลานเรา ครู...ผู้บริหารจะมีแนวทางใดที่จะชี้ชัดได้ว่า มีคุณภาพหรือเดินมาได้ถูกทางแล้วหรือไม่?...เป็นแนวทางเพื่อให้ผู้จัดการศึกษาพัฒนาตนเองไปได้อย่างมีทิศทาง และยังเป็นมาตรฐานที่ใช้เป็นเข็มทิศเพื่อพัฒนาในภาพรวมได้อีกประการหนึ่ง

?เพื่อเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ...ผู้เรียน และผู้รับผลกระทบ...ผู้ปกครอง...ชุมชน...สังคม...ประเทศไทย ที่จะมั่นใจได้ว่าทั้งรูปแบบการบริหารจัดการของสถานศึกษา วิธีการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาจะมีมาตรฐาน สามารถพัฒนาผู้รับบริการให้มีความรู้ ความสามารถ คุ้มค่ากับที่ได้ส่งบุตรหลานไปเรียน?

สถานการณ์ปัจจุบัน...ผ่านมาถึงวันนี้ คงไม่ต้องถกเถียงกันแล้วว่า ?หน่วยงานการประกันคุณภาพการศึกษา? มีความจำเป็นหรือไม่.

ขอบคุณเนื้อหาดีดี จากไทยรัฐออนไลน์