ครูเลิศชาย ปานมุข

กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือราชการของ กศน. โดยตรง => สรุปความรู้เกี่ยวกับงาน กศน. => ข้อความที่เริ่มโดย: เลิศชาย ปานมุข ที่ กันยายน 07, 2017, 11:10:17 PM

หัวข้อ: ประวัติความเป็นมา "8 กันยายน วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ"
เริ่มหัวข้อโดย: เลิศชาย ปานมุข ที่ กันยายน 07, 2017, 11:10:17 PM
ประวัติความเป็นมา "8 กันยายน วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" วันสำคัญของชาว กศน. อีกหนึ่งวัน
*******************
ประเทศไทย เริ่มจัดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการเรียนรู้หนังสือขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2510 โดยกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นเวลา 2 ปี หลังจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่กรุงเตหะราน เมื่อปี ค.ศ. 1965 และมีมติให้ถือเอาวันที่ 8 กันยายนของทุกปี เป็นที่ที่ระลึกสากลแห่งการเรียนรู้หนังสือ (International literacy Day) และเริ่มจัดงานเพื่อรณรงค์ส่งเสริมกระตุ้นเตือนสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2550 เป็นต้นมา

จากการจัดงานเล็กๆ ภายในกองการศึกษาผู้ใหญ่และตามโรงเรียนต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 เป็นต้นมา เมื่อมีการสถาปนากรมการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 ก็มีการจัดงานวันการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นในวันดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และได้ถือว่าวันที่ 8 กันยายน เป็นวันการศึกษานอกโรงเรียนด้วย แต่กระนั้นก็ตาม สาระสำคัญของงานในวันดังกล่าวก็ยังให้ความสำคัญในฐานะวันที่ระลึกสากลแห่งการเรียนรู้หนังสือตลอดมา การจัดงานในวันที่ 8 กันยายนขยายตัวจากการจัดงานเล็กๆ มาสู่การจัดงานร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนมาด้วยกันและถือว่าการรู้หนังสือเป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งของการศึกษานอกโรงเรียน

นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 ที่เริ่มมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอบข่ายของงานกว้างขวางครอบคลุมกิจการเรียนรู้ของผู้คนในชาติหลายมิติ แต่เพื่อที่จะให้การรณรงค์ส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือเด่นชัดขึ้น ยังคงยกเอาวันที่ 8 กันยายน เป็นวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ