ครูเลิศชาย ปานมุข

เกร็ดความรู้ => เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: เลิศชาย ปานมุข ที่ กรกฎาคม 20, 2015, 08:11:04 PM

หัวข้อ: พระราชพิธีไล่เรือ
เริ่มหัวข้อโดย: เลิศชาย ปานมุข ที่ กรกฎาคม 20, 2015, 08:11:04 PM
(http://app1.bedo.or.th/Rice/Uploads/Contents/7/Images/2010104165_s.jpg)


                พระราชพิธีไล่เรือในเดือนอ้ายนั้นมีมาตั่งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประกอบขึ้นเพื่อต้องการให้น้ำลดเร็ว ๆ  เพราะในเดือนต่อไปถือว่าเป็นการเข้าฤดูเพราะปลูก เป็นที่ทราบกันว่า สภาพทางภูมิศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อมลอบถึง ๓ สายด้วยกัน แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำทั้ง ๓ นี้ให้คุณให้ให้โทษพร้อมกันกล่าวคือ เมื่อเกิดศึกสงครามล้อมกรุง ชาวกรุงศรีอยุธยาจะใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโดยการใช้ต้านข้าศึกครั้งล้อมกรุง เมื่อน้ำขึ้นมาข้าศึกต้องหนีน้ำกลับไปยังกรุงของตนเพื่อรอน้ำลดในครั้งต่อไป นับว่าเป็นปราการธรรมชาติที่สำคัญในการป้องกันกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังเป็นเส้นทางสำคัญในการคมนาคมขนส่ง ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคนี้  ที่ให้โทษคือ ถ้าฤดูน้ำหลากครั้งไหนมีน้ำมากจนไม่สามารถระบายออกได้ จะสร้างความเสียหายให้แก่การเก็บเกี่ยว ดังนั้นในสมัยอยุธยาจึงได้มีพิธีกรรมไล่เรือขึ้นมาเพื่อให้น้ำลดเร็ว ๆ

                พระราชพิธีไล่เรือมิได้ประกอบขึ้นทุกปี เพราะถ้าปีไหนน้ำไม่มากก็ไม่ต้องประกอบพิธี มีกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยาว่าในการประกอบพิธีนั้น  พระเจ้าแผ่นดิน พระอัครมเหสี พระเจ้าลูกยาเธอ หลานเธอและพระสนม แต่งอย่างเต็มยศโบราณลงเรือพระที่นั่ง มีพระยามหาเสนาตีฆ้อง เสด็จไปตามลำน้ำ โดยสมมติพระเจ้าแผ่นดินเป็นเทพยาดา โดยขอให้น้ำถอยลงไป  แล้วทำการเชิญพระพุทธปฏิมากรลงเรือพระที่นั่ง แล้วมีเรือสำหรับพระสงฆ์ตามหลัง เรือรำหนึ่งมีพระราชาคณะ ๑ รูป มีฐานที่นั่ง ๒ ข้าง  ตรงกลางตั้งเครื่องนมัสการทำการสวดคาถาหล่อพระชัยเป็นคาถาไล่น้ำ (บางครั้งจึงเรียกพิธีไล่เรือว่าเป็นพิธีไล่น้ำด้วย) ในขณะล่องเรือกลับมายังประตูชัยกระทำพิธี เมื่อเสร็จพิธีไล่เรือ จะประกอบพิธีตรียัมปวาย ? ตรีปวาย อันพิธีเกี่ยวเนื่องกันมา กล่าวคือ พิธีไล่เรือกระทำเพื่อน้ำลด พิธีตรียัมปวาย ? ตรีปวาย เป็นพิธีเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ การเก็บเกี่ยว และการเตรียมตัวเพาะปลูกต่อไป

               ในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้กระทำพิธีนี้เพียง ๒ ครั้ง คือรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ การทำพิธีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปประชุมกันที่วัดท้ายเมือง แขวงเมืองนนทบุรี มีอาลักษณ์อ่านคำประกาศตั้งสัตยาธิฐาน นมัสการพระรัตนตรัย  เทพยาดารวมทั้งพระเจ้าแผ่นดิน (สมมติเทพ) แล้วอ้างความสัตย์ ซึ่งได้นับถือต่อเทพยาดาทั้งสามคือ วิสุทธิเทพยดา อุปปาติกเทพยดา และสมมติเทพยดา ขอให้น้ำลดลงไปตามประสงค์ พระพุทธรูปที่ใช้ในพระราชพิธีเดิมมีแต่ชื่อพระชัย พระคันธาราษฎร์ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นพระห้ามสมุทร การทำพิธีคล้ายเสด็จพระราชดำเนินพระกฐิน

               พิธีนี้ล้มเลิกไปครั้งรัชกาลที่ ๕ เป็นการถาวร จะประกอบแต่พระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวายเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะชัยภูมิของกรุงรัตนโกสินทร์นั่นอยู่สูงกว่าระดับน้ำพอสมควรจึงไม่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา


ที่มา  :  http://www.gotoknow.org/blog/vatin-history/449358