ครูเลิศชาย ปานมุข

ความรู้ดีดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา => เทคนิคการบริหารงานและการปฏิบัติงาน => ข้อความที่เริ่มโดย: เลิศชาย ปานมุข ที่ กรกฎาคม 20, 2015, 01:33:42 AM

หัวข้อ: วินัย 4 ประการของ การทำงานเป็นทีม
เริ่มหัวข้อโดย: เลิศชาย ปานมุข ที่ กรกฎาคม 20, 2015, 01:33:42 AM
เขียนโดย...หิรัญ พบลาภ
(Hiran.Poblabh@gmail.com)

ผู้มีวินัยในการทำงานเป็นทีม อย่างมีประสิทธิผล 4 ประการ

1.     มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ(Critical-few focus)

        การกลั่นกรองดังกล่าวช่วยให้ชีวิตคนเรามุ่งสู่จุดหมายที่แท้จริง เสมือนเข็มทิศที่คอยบอกทางหลัก ทำให้ไม่หลงทาง ไม่สูญเสียพลังไปกับสิ่งที่สำคัญเล็กน้อย เรื่องยิบย่อย หรือเรื่องที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์สร้างสรรค์ใดๆ เลย
        หากองค์กรขาด ?จุดโฟกัส? สิ่งที่จะตามมาคือความคลุมเคลือ ความรู้สึกไม่มีส่วนร่วมของคนที่เกี่ยวข้อง องค์กร(หรือคน) ดังกล่าว จะเข้าข่ายที่ว่า มีภารกิจที่วุ่นวายแต่ไร้ซึ่งกำไรและประสิทธิผล อาการที่จะพบได้ คือ
*      องค์กรจะเต็มไปด้วย ?ความเร่งด่วน? และเข้าใจกันไปหมดว่า ความเร่งด่วนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้คิดและวิเคราะห์เลยว่าใช่หรือไม่ และไม่มีการคิดหาทางปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมเหล่านั้นเลย แม้จะอบรมให้มากมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเวลา แต่ก็ช่วยอะไรได้ไม่มาก เพราะคนไม่เข้าใจและไม่เปลี่ยนระดับของการคิดแบบเดิมๆ
*      การที่สิ่งต่างๆ มีแต่เรื่องด่วน ผลร้ายที่น้อยคนจะมองคือ นั่นเป็นการสร้างวัฒนธรรมของการพึ่งพาผู้อื่น(ขาดภาวะผู้นำ) จะเห็นตัวอย่างในองค์กรเต็มไปด้วยคนส่วนใหญ่ที่จะรอนายสั่ง หรือรอทิศทางของหัวหน้า ของผู้บริหารก่อนการตัดสินใจใดๆ เพราะคนเหล่านั้นถูกสร้างมาอย่างไม่รู้ตัวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ออกจากปากนายหรือผู้บริหาร นั้นคือ ความเร่งด่วน
*      ตกเป็นทาสของความเร่งด่วนและความฉาบฉวย
*      เกิดระบบการเมืองในองค์กร และการประจบสอพลอ
                       
2.     สื่อสารศักยภาพที่ชัดเจน (Potential translation)

        การสื่อสารศักยภาพที่ชัดเจนเป็นวินัยของผู้นำที่จะทำให้คนในองค์กรเดินทางไปสู่เป้าหมายร่วมกันอย่างสอดคล้อง ศักยภาพที่ชัดเจนทั้งในส่วนบุคคล ทีม หรือองค์กรต้องผ่านการทำความเข้าใจ และรับผิดชอบร่วมกัน โดย
*      กำหนดวิธีการและแผนงานของทุกคนเชื่อมโยงสู่กลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร
*      กำหนดให้ทุกคนรับผิดชอบร่วมกันในความสำเร็จขององค์กรแทนการแบ่งงานและแบ่งแยกเป้าหมายกัน
*      ทำให้ทุกคนเข้าใจบทบาทประจำวันของตน อันจะนำสู่ความสำเร็จขององค์กร
*      ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนอย่างต่อเนื่อง ที่จะสามารถนำพากลยุทธ์ขององค์กรเดินไปข้างหน้า
 
3.     มีภาวะผู้นำในการดำเนินงาน (Leading execution)
 
ความล้มเหลวของคนหรือองค์กรส่วนมาก ไม่ได้อยู่ที่การไม่มีเป้าหมายหรือกลยุทธ์ แต่อยู่ที่ขาดความสามารถที่จะแปลงกลยุทธ์ ให้เกิดการดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย องค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้ หากคนในองค์กรยังไม่รู้บทบาทหน้าที่ของตนว่าจะต้องทำอะไร ภาวะผู้นำที่มีในผู้บริหาร และตัวบุคคล ทุกๆคน คือ ปัจจัยนำพาไปสู่ความสำเร็จ
*      ต้องกระจายภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นในทุกระดับขององค์กร
*      ภาวะผู้นำที่ยังยืนไม่ได้เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งตามหน้าที่ แต่เกิดจากเลือกเป็นและการฝึกฝนเองของบุคคลนั้นๆ
*      ภาวะผู้นำ คือการที่บุคคลมีความสำนึกรู้ถึงบทบาท ความสามารถในการดำเนินการใดๆ และกระจายศักยภาพนั้นใปสู่บุคคลรอบข้างได้อย่างสร้างสรรค์
*      การดำเนินการดังกล่าว คือ การสร้างวัฒนธรรมของทีมงานอย่างมีประสิทธิผล โดยไม่ต้องรอใครมาบังคับ หรือต้องสร้างระบบ กฎเกณฑ์ใดๆ มาควบคุม
 
4.     นิสัยแห่งความต่อเนื่องและยั่งยืน (Continuous consciousness)
 
        มีวินัยของผู้ทำงานที่มีประสิทธิผลจะเต็มไปด้วยศักยภาพของการมุ่งเน้นไปในสิ่งที่สำคัญไม่กี่อย่างอันเป็นหัวใจสำคัญของงานหรือการดำเนินการใดๆ เป็นการติดตามงานอย่างต่อเนื่อง สร้างสรรค์และขจัดอุปสรรคที่จะทำให้งานไม่สำเร็จ วินัยดังกล่าวจะส่งผลให้คนทำงานมีความมุ่งมั่นดำเนินงานไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยไฟและศักยภาพเต็มเปี่ยม ผลลัพธ์ที่จะออกมาสู่องค์กร คือ
*      ความตรงประเด็น ตามเป้าหมายกลยุทธ์ ไม่เสียเวลาไปกับสิ่งที่เป็นเรื่องไม่สำคัญ
*      การส่งเสริมการปลดปล่อยพลังของคนทำงาน แทนการเก็บกดและปิดบังศักยภาพ
*      สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน แทนการโยนความผิด หรือการจับผิด
*      สร้างความกระตือรือร้นแทนการดีแต่พูดที่ไร้ผลสำเร็จของงาน
*      สร้างทีมงาน และเกิดการระดมความคิดที่สร้างสรรค์ แทนการเสียเวลามาถกกันว่าความคิดใครถูกและของใครที่ผิด
 
ระดับความคิดเดิมๆ ที่ควรจะหมดไป

*      การจัดการที่เกินความพอดี จนทำให้งานง่ายๆ กลายเป็นเรื่องที่ยาก
*      การควบคุมและสั่งการ สร้างอุปสรรคต่อความคล่องตัว
*      การเน้นประสิทธิภาพ แต่ขาดซึ่งประสิทธิผลตามเป้าหมายกลยุทธ์
*      บริหารคนเสมือนเป็นวัตถุสิ่งของ
*      สร้างวัฒนธรรมขององค์กรด้วยระบบบุญคุณและโทษทัณฑ์
*      การจูงใจด้วยสิ่งของภายนอก แทนการให้ความไว้วางใจ ความเคารพและความภาคภูมิใจ
*      ขาดความเอื้ออาทรและการให้เกียรติกัน
*      ประกาศความมุ่งมั่นด้วยภาษาที่สวยหรู แต่ไม่ได้นำไปปฏิบัติให้เกิดผล
*      การสร้างความรับรู้ที่ฉาบฉวยแค่ด้วยการประชาสัมพันธ์(นโยบาย)ให้คนรับรู้(แล้วก็ลืม)
*      ไม่ให้คนส่วนมากได้มีส่วนร่วมในการกำหนด และสื่อสารเป้าหมาย (ของเขาเอง)

        คนส่วนมากจึงไม่รู้ว่าต้องทำอะไร ทำไม ! และจะทำอย่างไรที่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร
 
ชุดความคิดแบบใหม่ ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม

*      พัฒนาระดับความคิด ความสามารถส่วนบุคคล เพื่อผลที่ยิ่งใหญ่ขององค์กร
*      ปกติคนทุกคนมีความฉลาดพอที่จะเรียนรู้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นความถูกต้อง(สัจธรรม)
*      คนที่พัฒนาระดับการคิดนี้ได้ คือผู้ที่มีคุณสมบัติที่น่านับถือ มีเกียรติ และมีความก้าวหน้า
*      ภาวะผู้นำ(leadership) ทุกคนมีและสร้างได้ โดยไม่ต้องรอให้ใครสั่ง
*      คุณธรรม สัจธรรมมีอยู่พร้อมให้ทุกคน เท่ากัน แต่ทุกๆ คน(ทำตัวเอง)รับได้ไม่เท่าเทียมกัน
*      ศักยภาพทางกาย อารมณ์ สติปัญญา และระดับจิตใจ ต้องเกิดจากการสร้างด้วยตัวคนนั้นเอง
*      การรวมตัวของคนเป็นองค์กรจะยิ่งใหญ่ได้ด้วยการประสานพลัง
*      ศักยภาพเด่นๆ ของคนที่แตกต่างกันจะเสริมซึ่งกันและกันในองค์กร
*      องค์กรต้องมีความชัดเจนในวิสัยทัศน์(อันถูกต้อง) และความมุ่งมั่นร่วมกันของทุกๆคน
*      ทุกคนต้องมีวินัยอันเป็นคุณสมบัติของผู้ที่ดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล


ที่มา : http://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539146349&Ntype=19