ครูเลิศชาย ปานมุข

เกร็ดความรู้ => เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ => ข้อความที่เริ่มโดย: เลิศชาย ปานมุข ที่ พฤษภาคม 09, 2016, 08:44:23 PM

หัวข้อ: เรียนรู้ป้องกัน โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
เริ่มหัวข้อโดย: เลิศชาย ปานมุข ที่ พฤษภาคม 09, 2016, 08:44:23 PM
(http://www.lertchaimaster.com/imageforum/thaihealth_c_dejmortuv348.jpg)


ในสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก ทำให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันของทุกคนต้องเร่งรีบ ส่งผลให้สุขภาพของคนในสังคมแย่ลง ซึ่งปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย คือ การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือโรคกระเพาะ

โรคกระเพาะ เป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง สามารถเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัย คนทั่วไปมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โดยการเกิดแผลในกระเพาะอาหารนั้นมักพบในวัยกลางคน ขณะที่การเกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นมักจะพบในวัยหนุ่มสาว

สาเหตุเกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ร่วมกับความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง จึงทำให้มีแผลเกิดขึ้น แต่ในปัจจุบันพบว่า ยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคได้อีก ได้แก่

1. การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไร (Helicobactor Pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะ ผนังกระเพาะจึงอ่อนแอลงและมีความทนต่อกรดลดลง ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเกิดแผลได้ง่าย แผลหายช้า และเกิดแผลซ้ำได้อีก

2. รับประทานสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำ อัดลม หรือการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดจำพวก แอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ ยาชุด หรือ ยาลูกกลอนที่มีสเตียรอยด์ เป็นต้น

3. มีนิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารอย่างเร่งรีบ รับประทานไม่เป็นเวลา หรืออดอาหารบางมื้อ เป็นต้น

4. การสูบบุหรี่ เป็นการเพิ่มโอกาสการเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น

5. อื่นๆ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล คิดมาก นอนไม่หลับ เครียด อารมณ์ หงุดหงิด พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น

ที่มา ; คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ สสส.