ครูเลิศชาย ปานมุข

เกร็ดความรู้ => เกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: เลิศชาย ปานมุข ที่ ธันวาคม 19, 2015, 08:45:21 PM

หัวข้อ: เปิดบันทึก รักสุดทรหด! ของ?ราชินี แห่ง ขนมไทย?
เริ่มหัวข้อโดย: เลิศชาย ปานมุข ที่ ธันวาคม 19, 2015, 08:45:21 PM

ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ดอนญ่า ในภาษาสเปนหรือโปรตุเกสแปลว่า คุณหญิง) หรือตองกีมาร์ (Tanquimar) เป็นลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และเบงกอล[2] โดยมารดาของท้าวทองกีบม้าชื่อ เอิลร์สุลา ยามาดา (Ursula Yamada) หรือหนังสือบางเล่มเรียกว่า เออร์ซูลา ยามาดะ ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพลี้ภัยทางศาสนาเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ส่วนบิดาชื่อ ฟานิก กูโยมา (Phanick Guimar หรือ Fanik Guyomar) ที่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอลและโปรตุเกสจากอาณานิคมกัว (ปัจจุบันคือรัฐกัว ประเทศอินเดีย)

ท้าวทองกีบม้า นั้นเป็นสาวสวยชาวญี่ปุ่นนับถือศาสนาคริสเตียน สืบเชื้อสายมาจากครอบครัวญี่ปุ่นที่หลบหนีเข้ามาอยู่เมืองไทยสมัยโชกุนกวาดล้างพวกคริสเตียน มีลูกชาย 1 คนกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เป็นฝรั่งชาวกรีกชื่อ คอนสแตนตินฟอลคอล เข้ามารับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นที่โปรดปรานมากจนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ โดยมีศัตรูคนสำคัญ คือขุนหลวงสรศักดิ์กับพระเพทราชา เพราะสนับสนุนให้เจ้าฟ้าน้อยที่ทรงรักกับกรมหลวงโยธาทิพผู้เป็นพระอนุชากับพระธิดาของสมเด็จพระนารายณ์ ที่พระองค์ทรงตั้งพระทัยจะให้ทั้งสองอภิเษกกัน เพื่อได้สิทธิครองบัลลังก์

ภายหลังสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต ฝ่ายพระเพทราชากับขุนหลวงสรศักดิ์ยึดอำนาจให้จับกุมตัว "เจ้าพระยาวิชาเยนทร์" ไปฆ่า ทั้ง ๆ ที่มีกองกำลังของทหารต่างชาติที่เป็นฝรั่ง ทั้ง กรีก ฝรั่งเศส อังกฤษ และญี่ปุ่น คอยคุ้มกันอารักขาพร้อมอาวุธ แต่ถูกแผนลวงให้เข้าวังพร้อมปิดประตูวัง ไม่ให้ทหารอารักขาติดตามเข้าไปได้ท้าวทองกีบม้า มีชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า มารี ปินยา เดอ กียร์มาร์ (Marie Pina de Guinar) ขณะที่สามีตายอายุเพียง 16 ปีและทรัพย์สินเงินทองบ้านช่องถูกริบเข้าคลังหลวง เพราะเธอไม่ยอมเป็นเมียของขุนหลวงสรศักดิ์และถูกจับขังคุกบังคับให้ทำงานหนักเหมือนนางทาส ถูกกลั่นแกล้ง โบยตี ทั้งยังนำพี่น้องครอบครัวของนางมาโบยตีต่อหน้าทหาร โดยกล่าวหาว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด เพื่อบีบบังคับ ข่มขู่ ให้นางยินยอมเป็นเมียของขุนหลวงสรศักดิ์

อย่างไรก็ตาม ได้มีการวางแผนเพื่อหนีออกจากประเทศไทยทางเรือของทหารฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ เพราะนายพลเดฟาจ ที่เคยสัญญาว่าจะช่วยเหลือกลับเปลี่ยนใจ โดยยินยอมส่งนางกลับไปให้ขุนหลวงสรศักดิ์ แต่ในที่สุดมารีไม่มีทางเลือกต้องยินยอมเป็นเมียขุนหลวงสรศักดิ์ นางสามารถใช้ความชาญฉลาดและความงามของตนจนกลายเป็นคนโปรด ได้ประทานห้องพักในวังที่สวยงามให้เป็นที่อยู่อาศัย มีเสื้อผ้าอาหาร บ่าวไพร่และเงินทองใช้สอยอย่างสบาย รวมไปถึงครอบครัวพี่น้องก็ได้รับโอกาสที่ดี มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายเช่นเดียวกับมารี

จากหลักฐานการบันทึกของชาวฝรั่งเศส ชื่อ เดอ โซมองต์ ได้บันทึกไว้ว่าขณะที่มารีอายุได้ 66 ปี ได้พำนักอยู่ภายในวังของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ โดยมีอำนาจและตำแหน่งสำคัญอยู่ในวัง มีข้าราชบริพารเป็นหญิงไทยรับใช้ถึง 2,000 คน มีหน้าที่เป็นหัวหน้าและผู้ดูแลภาชนะที่เป็นเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง และเครื่องทรงของพระเจ้าแผ่นดิน พระภูษากับฉลองพระองค์ รวมทั้งพร้อมกับต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับผลไม้ที่พระเจ้าแผ่นดินเสวย หน้าที่นี้มีช่องทางในการแสวงหากำไรและผลประโยชน์ได้เป็นอันมาก แต่มารีเป็นคนดีและซื่อสัตย์ทำให้สามารถคืนเงินเข้าท้องพระโรงในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมาก

สำหรับมารี ปินยา เดอ กียร์มาร์ ผู้นี้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น 'ท้าวทองกีบม้า" มีชื่อเสียงโด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน ในเรื่องของการทำอาหารคาวหวาน ตกแต่งสำรับกับข้าวได้สวยงาม ประณีต โดยเฉพาะขนมหวาน เช่น สังขยา ทองหยิบ ขนมผิง ทองหยอด ฝอยทอง

เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของประเทศฝรั่งเศส หลังจากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ สามีของมารีได้เสียชีวิตไปแล้ว 29 ปี มารีได้เขียนจดหมายไปกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ว่าเธอมีตำแหน่งเป็นพี่เลี้ยงผู้ดูแลโอรสของกษัตริย์แผ่นดินไทย ขอให้ประเทศฝรั่งเศสคืนเงิน ที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์สามีเก่าของเธอได้ร่วมลงทุนในบริษัทของฝรั่งเศสในดินแดนไทย และขอดอกเบี้ยด้วย ซึ่งบริษัทฝรั่งเศสในเมืองไทยได้ปฏิเสธการจ่ายและคัดค้านแต่ผู้พิพากษาในฝรั่งเศสได้ให้ความยุติธรรมกับเธอ จึงพิพากษาตัดสินให้มารีได้รับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยชดเชย เป็นเงินค่าเลี้ยงชีพ 3,000 ปอนด์ ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนมากพอสมควร

หากพิจารณาถึงอุปนิสัยและการดำรงตนของผู้หญิงอย่างท้าวทองกีบม้า เมื่อเผชิญปัญหาในแต่ละสถานการณ์และสามารถตัดสินใจ แก้ไขปัญหา แต่ละอย่างได้อย่างเฉลียวฉลาด มีสติปัญญากล้าหาญ ซื่อสัตย์และมีความกตัญญูเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ในขณะที่เธออายุยังน้อย สามีของเธอถูกทารุณกรรมจนเสียชีวิตจากการกระทำของขุนหลวงสรศักดิ์ ผู้ซึ่งต่อมาได้มีอำนาจวาสนาจนได้เป็นกษัตริย์ไทยในเวลาต่อมาคือพระเจ้าเสือ

ตามการบันทึกของบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ที่ชื่อ เดอเบซ ได้เล่าถึงการแก้ไขปัญหาชีวิตรักส่วนตัวระหว่างมารีกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ นั้นแสดงถึงการมองการณ์ไกล ความใจกว้าง และสามารถยุติปัญหาครอบครัวของมารีได้อย่างแยบยลยอดเยี่ยม เนื่องจากได้มีสาวชาววังผู้เป็นคนใกล้ชิดของกรมหลวงโยธาเทพ เป็นสาวไทยที่มีความสวยงามอย่างยิ่งจนทำให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์หลงใหล มีลูกสาวด้วยกัน 1 คน เมื่อมารีทราบเรื่องจึงส่งคนมาเจรจารับเลี้ยงดูแลลูกสาวให้ พร้อมขอให้ส่งสาวชาววังคนนั้นไปอยู่ที่พิษณุโลก เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ยอมรับข้อเสนอจึงส่งเธอไปอยู่กับเจ้าเมืองพิษณุโลกและขึ้นไปเยี่ยมเยียนเป็นบางเวลาเท่านั้น

ถ้าพูดถึงความใจเด็ดและอดทนของมารีนั้น สามารถพิจารณาจากการที่เธอถูกทารุณกรรมจากขุนหลวงสรศักดิ์ เพื่อบีบบังคับให้เธอเป็นเมียนั้น ต้องยอมรับว่าเธอรักและซื่อสัตย์ต่อสามีของเธอ แม้กระทั่งเมื่อแผนการหนีของเธอได้มีขึ้นนั้น เธอขอร้องให้ทหารฝรั่งเศสผู้ช่วยเหลือว่าให้ฆ่าเธอให้ตายอย่ายินยอมส่งตัวเธอกลับคืนให้ขุนหลวงสรศักดิ์อย่างเด็ดขาด แต่ในท้ายที่สุดแล้วเธอก็ถูกนายพลฝรั่งเศสส่งตัวเธอกลับเพราะเกรงกลัวต่ออำนาจของขุนหลวงสรศักดิ์ที่อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ของประเทศ และผลประโยชน์ของฝรั่งเศสในแผ่นดินไทย และที่น่ายกย่องชื่นชมที่สุดคือ ความกตัญญูของเธอที่มีต่อมารดา แม้ขณะที่ถูกคุมขังต้องทำงานหนัก ลำบากลำเค็ญ เมื่อเสร็จงานตอนตีสาม เธอจะต้องพายเรือเป็นระยะทางไกลเพื่อไปดูแลมารดาและก่อนรุ่งเช้าจะต้องตื่นเพื่อพายเรือกลับไปทำงานต่อในคุก ซึ่งตอนนั้นเป็นฤดูฝนมีฝนและลมแรงจนถึงกับเป็นลมหมดสติแน่นิ่งถึง 12 ชั่วโมง (เธอได้รับสิทธิพิเศษในการกลับบ้านไปดูแลมารดาสามารถออกจากคุกได้)

'ท้าวทองกีบม้า" มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญรับผิดชอบต่อทรัพย์สินเงินทองของแผ่นดินเพราะเป็นคนดี มีจิตใจซื่อสัตย์ ไม่ละโมบ เธอเป็นคนทรหดอดทนเป็นเลิศ เป็นนักสู้ ไม่ยอมแพ้ต่อชะตากรรมแต่เมื่อได้ต่อสู้จนถึงที่สุดก็ต้องยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ท้าวทองกีบม้าผู้นี้ ยังได้รับการยกย่องอย่างสูงในราชสำนักไทยติดต่อกันมาถึง 3 แผ่นดิน แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจของกษัตริย์ไทย 3 พระองค์ แต่ทั้ง 3 พระองค์ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้เธอดูแลสิ่งของสำคัญของแผ่นดิน

ทั้งนี้ก็เพราะด้วยความเป็นคนมีกตัญญู ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของท้าวทองกีบม้า จนมีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้โดยเฉพาะในเรื่องอาหาร.

ที่มา:http://variety.teenee.com/world/73133.html