กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

1
ปัจจัยแวดล้อมของการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของเทคโนโลยีที่มากขึ้น การแข่งขันในตลาดแรงงานสูง มีผลทำให้ความต้องการแรงงานมีทักษะเปลี่ยนไป แต่การศึกษาของไทยยังมีหลายประเด็นที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญในการวางแผนแก้ไขอย่างจริงจัง
.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สะท้อนความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่นับวันจะสูงขึ้น เมื่อค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงจะมีการแข่งขันที่สูง หรือโรงเรียนที่มีหลักสูตรพิเศษอย่างภาษาต่างประเทศ หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้เกิดช่องว่างทางการศึกษามากขึ้น
.
ขณะที่คุณภาพการศึกษาของไทยที่ลดลง สะท้อนผ่านดัชนีการวัดความสามารถด้านความรู้ระดับประเทศหรือ PISA ซึ่งจะมีผลระยะยาวต่ออนาคตของบุตรหลาน และตลาดแรงงานไทย ทัศนคติการเรียนต่อระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีลดลง จากผลสำรวจพบว่าผู้ปกครองเกือบครึ่ง (49% ของกลุ่มตัวอย่าง) เห็นด้วยกับบุตรหลานที่เริ่มมองว่าการเรียนจบปริญญาตรีหรือสูงกว่าไม่สำคัญต่อการสมัครงานในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าอาชีพอิสระหาเงินได้มากกว่า และปัจจุบันมีหลายคนที่ประสบความสำเร็จและสร้างรายได้จากการใช้เทคโนโลยี ในการสร้างรายได้จากการขายของออนไลน์ การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) และการสร้างรายได้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีผลต่อตลาดแรงงานในระยะข้างหน้า
.
ดังนั้น เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย ให้นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้ที่เท่าเทียม และเตรียมทักษะความพร้อมให้กับนักเรียน ภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทมากขึ้น อาทิ
.
1. การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
.
2. การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไป
.
3. การยกระดับโรงเรียนอาชีวะศึกษาด้วยการเพิ่มงบประมาณในด้านการวิจัยและพัฒนา
.
4. การพัฒนาและยกระดับความรู้ใหม่ๆ (Upskill และ Reskill) ให้กับบุคลากรผู้สอน รวมถึงการเพิ่มบุคลากรครูผู้สอน
.
สอดคล้องกับมุมมองของนักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่เคยสะท้อนเรื่อง “ผลสอบ PISA สัญญาณเตือนวิกฤตการศึกษา แก้ปัญหาให้ถูกจุด” หลังจากผลประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA  พบว่า นักเรียนไทยอายุ 15 ปี คะแนนลดต่ำลงในทุกด้านทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน โดยนายพงศ์ทัศ วนิชานันท์ นักวิจัยอาวุโส ทีมนโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษา ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า สาเหตุหลักของปัญหาที่ทำให้ผลการประเมิน PISA ของไทยลดลงต่อเนื่องนั้น มาจากการระบบศึกษาของไทยที่อ่อนแอ จาก 2 สาเหตุหลักคือ
.
1. หลักสูตรของไทยล้าสมัย มีการใช้มาตั้งแต่ปี 2551 หรือ 15 ปีมาแล้ว และแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปรับหลักสูตรอยู่บ้าง แต่เป็นการปรับเล็กในบางวิชาเท่านั้น ซึ่งในภาพรวมหลักสูตรไทยยังไม่มุ่งให้เด็กนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ เพราะการที่เด็กจะมีสมรรถนะในการประยุกต์ใช้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่เหมาะสม ไปพร้อมๆ กัน เช่น การจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จะต้องรู้คำศัพท์ โครงสร้างประโยค ทักษะการออกเสียง และมีทัศนคติในการกล้าสื่อสาร โดยได้รับการฝึกฝนในสถานการณ์ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง แต่หลักสูตรของไทยมุ่งเน้นไปที่การให้ความรู้ผ่านการจดจำ ในขณะที่การทดสอบของ PISA เน้นนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง การใช้หลักสูตรของไทยไม่มีความยืดหยุ่นเท่าที่ควร แม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะให้โรงเรียนสามารถนำหลักสูตรแกนกลางไปปรับเพื่อให้เข้ากับบริบทได้ แต่ในทางปฏิบัติครูยังไม่กล้าทำสิ่งใหม่ ยังทำตามสิ่งที่เคยทำมา อีกทั้งยังมีการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียน ทำให้โรงเรียนต้องทำหลักสูตรตามที่สาระวิชาได้กำหนดเอาไว้ 
.
2. จุดอ่อนสำคัญอีกประการหนึ่งคือการบริหารทรัพยากร ทั้งด้านคน โดยเฉพาะครู และ งบประมาณ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน ถือว่าไทยลงทุนทรัพยากรด้านการศึกษาค่อนข้างสูง แต่ผลลัพธ์ยังไม่ดี ซ้ำยังลดลงเรื่อยๆ สะท้อนว่าการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพต่ำ อีกทั้งโรงเรียนยังไม่มีอิสระในการจัดการทรัพยากรด้วยตัวเอง หลายโรงเรียนยังขาดแคลนครู โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก มีปัญหาครูไม่ครบชั้น ซึ่งสอดรับกับผลคะแนนของ PISA ที่บ่งชี้ว่าโรงเรียนที่มีครูเพียงพอจะมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่า นอกจากนี้ในปัจจุบันครูต้องแบกรับงานธุรการที่นอกเหนือไปจากการสอนมาก ทำให้ไม่สามารถโฟกัสกับการสอนได้  ซึ่งจากการที่ทีดีอาร์ไอได้ลงพื้นที่สำรวจความเห็นครูใน 8 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ครูต้องทำงานนอกเหนือจากการสอนจำนวนมาก โดยภาระงานที่ครูรู้สึกว่าเป็นปัญหามากที่สุด คือการรายงานผลที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือ หน่วยงานต่างๆ มอบหมายให้โรงเรียนทำ ส่งผลให้ครูสอนนักเรียนได้ไม่เต็มที่
.
นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ยังได้ยกตัวอย่างการศึกษาของประเทศที่ได้ผลประเมินของ PISA ในเกณฑ์ดี อย่างสิงคโปร์ และฟินแลนด์ ซึ่งประเทศไทยสามารถเรียนรู้ระบบการศึกษาที่ดีจากประเทศเหล่านี้ได้ เช่น สิงคโปร์มีความโดดเด่นในเรื่องของการพัฒนาครู โดยให้ความสำคัญกับการผลิตครูอย่างมาก มีเกณฑ์การคัดเลือกค่อนข้างสูง ครูได้รับค่าตอบแทนที่สูงและได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง จึงทำให้ครูของสิงคโปร์มีคุณภาพ ส่วนฟินแลนด์ มีความน่าสนใจด้านหลักสูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เน้นสร้างสมรรถนะ โดยพยายามให้นักเรียนได้เรียนจากสถานการณ์จริง และเกิดการเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์ และให้ความสนใจโลกใหม่ เช่น นาโนเทคโนโลยี ทำให้นักเรียนได้เรียนในสิ่งที่ทันโลกทันเหตุการณ์
.
นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ยังแนะนำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาว่า ไทยควรยกเครื่องการศึกษาใหม่ ปรับใหญ่ทั้งระบบ ทั้งหลักสูตร การใช้ทรัพยากร และการผลิตครู แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะแรก ซึ่งทำได้ทันที คือการลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอนของครูให้เหลือน้อยที่สุด ระยะที่สอง รัฐบาลควรปรับหลักสูตรการศึกษาให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี หรือภายในวาระของรัฐบาล โดยเมื่อปรับหลักสูตรแล้วก็จำเป็นต้องออกแบบให้องค์ประกอบอื่นของระบบการศึกษามีความสอดคล้องกันด้วย ทั้งการผลิตและพัฒนาครู ตลอดจนการสอบและประเมินผล
.
สำหรับในระยะที่สาม ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหานานนั้น อาจจะเริ่มต้นจากข้อเสนอของธนาคารโลก ในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก เช่น การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กและพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนที่อยู่ใกล้กัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและการเรียนการสอน ส่วนโรงเรียนที่ไม่สามารถที่จะควบรวมหรือพัฒนาเป็นเครือข่ายได้ เช่น โรงเรียนที่อยู่ห่างไกล จำเป็นต้องคงอยู่และมีการจัดสรรงบเพิ่มเพื่อให้มีทรัพยากรที่เพียงพอในการจัดการศึกษา
...................................................
ที่มา https://www.salika.co/.../thai-education-for-new-generation/
2
ใบประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2567-2572

3
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของผู้เรียนศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอโพธิ์ทอง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอ่างทอง       

ผู้เผยแพร่ผลงาน นายเลิศชาย ปานมุข ครูชำนาญการ สกร.อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง


4
บทคัดย่อ เรื่อง โมเดลการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

ผู้เผยแพร่ผลงาน ผอ.พัทธกานต์ วัฒนหโยธิน ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สกร.อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง


5
บทคัดย่อ เรื่อง การประเมินการใช้หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการทอผ้าใยสับปะรด 60 ชั่วโมง ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

ผู้เผยแพร่ผลงาน ผอ.พัทธกานต์ วัฒนหโยธิน ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สกร.อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง



6
บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้เผยแพร่ผลงาน ผอ.ปวิณา โพธินาม ผู้อำนวยการสถานศึกษา  วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สกร.อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี


7
คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
คำสั่งที่ 755/2567
คำสั่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้

*******************************




8
9
บทเรียนออนไลน์ รายวิชาการป้องกันการทุจริต
https://drive.google.com/file/d/1_6YfkxogwL6t-DVSOX8SviPOhLyK655o/view?usp=sharing
10
การพัฒนานวัตกรรม Aplicationศกร.ตำบลห้วยทราย สู่การจัดการเรียนการสอนดีเด่น 3 ภาคเรียน
https://drive.google.com/file/d/11-nB4eUmUWseP71q9lAQAKOFQ5xdN59H/view?usp=sharing